บทคัดย่องานวิจัย

การเพิ่มขึ้นของกิจกรรมของเอนไซม์ 1-Aminocyclopropene 1-Carboxylic Acid Oxidase (ACC oxidase) ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนเป็นสีเหลืองของมะนาวพันธุ์แป้น (Citrus aurantifolia, Swingle cv. ‘Paan’)

Tin Ohnmar Win วาริช ศรีละออง Khin Lay Kyu และ ศิริชัย กัลยาณรัตน์

บทคัดย่อ การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 5, โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชัน กรุงเทพมหานคร, 28-29 มิถุนายน 2550. 151 หน้า.

2550

บทคัดย่อ

การเพิ่มขึ้นของกิจกรรมของเอนไซม์ 1-Aminocyclopropene 1-Carboxylic Acid Oxidase (ACC oxidase) ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนเป็นสีเหลืองของมะนาวพันธุ์แป้น (Citrus aurantifolia, Swingle cv. ‘Paan’)

ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมของเอนไซม์ 1-Aminocyclopropene 1-Carboxylic Acid Oxidase (ACC oxidase)และการเปลี่ยนแปลงของสีเขียวในมะนาวพันธุ์แป้น (Citrus aurantifolia, Swingle cv. ‘Paan’) ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ACC oxidaseมีความสำคัญในขั้นตอน deoxygenase ของกระบวนการสลายของสีเขียว โดยเฉพาะกระบวนการเปลี่ยนเป็นสีเหลืองของเปลือกมะนาว ในการทดลองนี้จึงศึกษากิจกรรมของเอนไซม์ ACC oxidase ในเปลือกมะนาววัยต่างๆ 4 วัย ระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 28±2 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 72-81% และอุณหภูมิ 13 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 80-90 ในขณะที่การรมมะนาวด้วยเอทิลีนความเข้มข้น 10 ไมโครลิตรต่อลิตร พบว่ากิจกรรมของเอนไซม์ ACC oxidaseเพิ่มขึ้นในช่วงระหว่างการเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ให้ผลเช่นเดียวกันที่เอทิลีนความเข้มข้น 0.1 และ 1.0 ไมโครลิตรต่อลิตร อย่างไรก็ตามเมื่อใช้ตัวยับยั้งการทำงานของเอทิลีน เช่น 1-Methylcyclopropene (1-MCP) ที่ความเข้มข้น 250 หรือ500 นาโนลิตรต่อลิตร สามารถยับยั้งการทำงานของกิจกรรมของเอนไซม์ ACC oxidaseตลอดการเก็บรักษา นอกจากนี้การใช้ plant growth regulators พบว่า BAP (6-benzylaminopurine), GA3 (gibberellic acid) และ 2, 4-D (2, 4- dichlorophenoxy acetic acid)ยับยั้งการทำงานของกิจกรรมเอนไซม์ ACC oxidaseในขณะที่ IAA (indole 3 acetic acid) และ IBA (indole 3 butyric acid) เร่งการทำงานของเอนไซม์ ACC oxidaseตั้งแต่ช่วงที่มีสีเขียวเข้มจนถึงช่วงที่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง และลดลงในช่วงเปลือกเป็นสีเหลืองอย่างสมบูรณ์ความชื้นสัมพัทธ์ไม่มีผลต่อกิจกรรมของเอนไซม์ ACC oxidaseเมื่อเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 28±2 องศาเซลเซียส จากการทดลองนี้จึงพบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่าง ACC oxidaseและอัตราส่วนระหว่าง chlorophyll และ chlorophyllideบริเวณ flavedo ของเปลือกมะนาว