บทคัดย่องานวิจัย

การยืดอายุและลดการเน่าเสียของหน่อไม้ฝรั่ง

พรทิพย์ วิสารทานนท์, รัมม์พัน โกศลานันท์, อารีรัตน์ การุณสถิตย์ชัย และชวเลิศ ตรีกรุณาสวัสดิ์

บทคัดย่อผลการทดลองสิ้นสุดโครงการวิจัยและพัฒนาด้านพืชและเทคโนโลยีการเกษตรปีงบประมาณ 2549. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2549. 150 หน้า.

2549

บทคัดย่อ

การยืดอายุและลดการเน่าเสียของหน่อไม้ฝรั่ง

 

โรคเน่าที่เกิดแบคทีเรียและราเป็นปัญหาที่สำคัญของหน่อไม้ฝรั่ง มีรายงานผลการวิจัยหลายชิ้นระบุว่า การใช้เกลือแคลเซียมร่วมกับโซเดียมไฮโปคลอไรท์เพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมโรคและลดการเน่าเสียของผลิตผลหลายชนิด วัตถุประสงค์ของการทดลองนี้เพื่อลดการเน่าเสียและยืดอายุการเก็บรักษาหน่อไม้ฝรั่งดำเนินการทดลองที่สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร ตั้งแต่ เดือน ต.ค. 2548 – ก.ย. 2549 โดยแบ่งการทดลองเป็น 3การทดลอง การทดลองแรกประกอบด้วย 7กรรมวิธี กรรมวิธีที่ 1และ 2ผสมสารโซเดียมไฮโปคลอไรท์ร่วมกับแคลเซียมโพพริโอเนท ที่ความเข้มข้นต่ำและสูง กรรมวิธีที่ 3และ 4ผสมสารโซเดียมไฮโปคลอไรท์ร่วมกับ กรดโพพริโอนิค ที่ความเข้มข้นต่ำและสูง กรรมวิธีที่ 5และ 6 ผสมสารโซเดียมไฮโปคลอไรท์ร่วมกับแคลเซี่ยมคลอไรด์ที่ความเข้มข้นต่ำและสูง กรรมวิธีที่ 7140 ppm หรือ 1.9mM โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (ตัวควบคุม) ผลการทดลองพบว่าตัวควบคุมและกรรมวิธีที่ผสมโซเดียมไฮโปคลอไรท์ร่วมกับแคลเซี่ยมคลอไรด์ที่ความเข้มข้นต่ำและสูง มีความสด ความเขียว  และการยอมรับจากผู้บริโภคมากกว่า กรรมวิธีที่แช่ในเกลือโพพริโอแนตและกรดโพพริโอนิค กรรมวิธีที่แช่ในกรดโพพริโอนิค ที่ความเข้มข้นสูงเกิดความเสียหายแก่ผลผลิตมากที่สุด การทดลองที่ 2ประกอบด้วย 2กรรมวิธี กรรมวิธีที่ผสมสารโซเดียมไฮโปคลอไรท์ร่วมกับแคลเซียมโพพริโอเนท ที่ความเข้มข้นต่ำเปรียบเทียบกับโซเดียมไฮโปคลอไรท์อย่างเดียวพบว่าคุณภาพไม่แตกต่างกันทางสถิติ การทดลองที่ 3ประกอบด้วย 4กรรมวิธี แช่ในแคลเซียมโพพริโอแนต แคลเซียมคลอไรด์ แคลเซียมแอสคลอเบท และโซเดียมไฮโปคลอไรท์ตามลำดับโดยการทดลองนี้แตกต่างจาก การทดลองที่ 1คือไม่ผสมโซเดียมไฮโปคลอไรท์ลงไปในแต่ละกรรมวิธี แต่ล้างผลิตผลก่อนด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรท์ แล้วนำไปแช่ในสารดังกล่าวข้าวต้นผลการทดลองพบว่าเมื่อเก็บไว้ที่ อุณหภูมิ 2°C คุณภาพและเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคไม่แตกต่างทางสถิติในแต่ละกรรมวิธีแต่เมื่อเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องพบว่าตัวควบคุมและกรรมวิธีที่แช่ในแคลเซียมคลอไรด์ แคลเซียมแอสคลอเบทมีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคต่ำกว่ากรรมวิธี แช่ในแคลเซียมโพพริโอแนต จากผลการทดลองทั้ง 3 การทดลองสรุปได้ว่าการแช่หรือล้างด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรท์อย่างเดียวเป็นการเพียงพอที่จะควบคุมโรคและยืดอายุโดยไม่มีความจำเป็นที่จะไปผสมผสานกับสารอื่นซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต