บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาการสลายตัวของคลอโรฟิลล์ในแวคคิวโอของต้นหอมญี่ปุ่นระหว่างการเก็บรักษา

อลิษา สุนทรวัฒน์

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว) คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. 105 หน้า. 2554.

2554

บทคัดย่อ

การศึกษาการสลายตัวของคลอโรฟิลล์ในแวคคิวโอของต้นหอมญี่ปุ่นระหว่างการเก็บรักษา

ปัญหาสำคัญของต้นหอมญี่ปุ่นระหว่างการเก็บรักษา คืออาการเหลืองของใบโดยเฉพาะบริเวณ ปลายใบ ซึ่งเกิดจากการสลายตัวของคลอโรฟิลล์ มีรายงานว่าการสลายตัวของคลอโรฟิลล์ ในต้นหอมญี่ปุ่นเกิดขึ้นภายในคลอโรพาสต์ และคาดว่าสามารถเกิดภายในแวคคิวโอด้วย งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงปริมาณคลอโรฟิลล์และอนุพันธ์ของคลอโรฟิลล์ในแวคคิวโอของต้นหอมญี่ปุ่นระหว่างการเก็บรักษา โดยทำการสกัดแวคคิวโอจากโปรโตรพลาส ของต้นหอมญี่ปุ่น พบว่าโปรโตรพลาสจำนวน 1×105 เซลล์สามารถสกัดแวคคิวไอได้10-20 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนโปรโตรพลาสทั้งหมด เมื่อนำแวคคิวโอที่ได้มาทำการตรวจสอบกิจกรรม ของ Maker enzyme ที่เป็นตัวบ่งชี้ของออร์แกเนลล์อื่นๆ ประกอบด้วย Catalase NADH cytochrome C reductase NADH malate dehydrogenase และ Alcohol dehydrogenase พบว่า มีกิจกรรม ของ Maker enzyme ที่เป็นตัวบ่งชี้ของออร์แกเนลล์อื่นๆ ในระดับต่ำ ซึ่งชี้ให้เห็นว่า แวคคิวโอที่สกัดได้มีการปนเปื้อนออร์แกเนลล์อื่นๆ ในปริมาณน้อย จากการตรวจสอบกิจกรรมของ Maker enzyme ที่บ่งชี้อยู่ในแวคคิวโอ ประกอบด้วย Acid phophatase และ β-glucosidase พบว่ามีกิจกรรมของ Maker enzyme ที่บ่งชี้อยู่ในแวคคิวโอที่สกัดได้ในระดับสูงแสดงว่าแวคคิวโอที่สกัดได้มีความบริสุทธิ์เพียงพอที่จะนำไปใช้ทำการทดลองต่อไป

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงอนุพันธ์ของคลอโรฟิลล์ได้แก่ Chlorophyllide a Pheophytin a C132-hydroxychlorophyll a Pheophorbide a และ Pyropheophorbide a ในแวคคิวโอ และ โปรโตพลาสของต้นหอมญี่ปุ่นในสภาวะ in vitroโดยนำแวคคิวโอและโปรโตรพลาสมาบ่มเป็นเวลา 0 3 6 8 และ 24 ชั่วโมง พบว่ามีการเพิ่มขึ้นของปริมาณอนุพันธ์ของคลอโรฟิลล์ในโปรโตรพลาส สูงกว่าในแวคคิวโอ เนื่องจากภายในโปรโตรพลาสมีออร์แกเนลล์ชนิดต่างๆบรรจุอยู่ เช่น คลอโรพลาสแต่ปริมาณของ pheophytin aในแวคคิวโอมีปริมาณสูงกว่าในโปรโตรพลาส จากผลการทดลองแสดงว่ามีการสลายตัวของคลอโรฟิลล์ทั้งภายในโปรโตพลาสและ แวคคิวโอ ดังนั้นจึงทำการศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพในต้นหอมญี่ปุ่นระหว่างการเก็บรักษา โดยศึกษาการเปลี่ยนแปลงค่า Hue angleปริมาณคลอโรฟิลล์เอและคลอโรฟิลล์บี และอนุพันธ์ของคลอโรฟิลล์ในแวคคิวโอ ของต้นหอมญี่ปุ่นในระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 และ 25องศาเซลเซียล พบว่า ค่า Hue angleลดลงในต้นหอมญี่ปุ่นที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25องศาเซลเซียล ในขณะที่การเก็บรักษา ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียล มีการเปลี่ยนแปลงของค่า Hue angle เพียงเล็กน้อย ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณคลอโรฟิลล์เอและคลอโรฟิลล์บีของต้นหอมญี่ปุ่นที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส พบว่าปริมาณคลอโรฟิลล์เอและคลอโรฟิลล์บีลดลงเร็วกว่าต้นหอมญี่ปุ่นที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียล และมีอนุพันธ์ของคลอโรฟิลล์มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในวันที่ 1 ของการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ในขณะที่แวคคิวโอของต้นหอมญี่ปุ่นที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียล มีอนุพันธ์ของคลอโรฟิลล์เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า การสลายตัวของคลอโรฟิลล์สามารถเกิดขึ้นได้ภายในในแวคคิวโอของต้นหอมญี่ปุ่น โดย การเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียล สามารถชะลอการเหลืองอันเนื่องมาจากการสลายตัว ของคลอโรฟิลล์