บทคัดย่องานวิจัย

การทนทานต่อกรดและความร้อนของ Listeria monocytogenes หลังผ่านความเครียดชนิดเดี่ยวและชนิดร่วม

ศราวุธ วรรณพาด

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการอาหาร) คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 105 หน้า. 2552.

2552

บทคัดย่อ

การทนทานต่อกรดและความร้อนของ Listeria monocytogenes หลังผ่านความเครียดชนิดเดี่ยวและชนิดร่วม

Listeria monocytogenes  เป็นเชื้อก่อโรคที่แพร่กระจายในธรรมชาติ  สามารถพบได้ในอาหารสดและอาหารที่ผ่านการแปรรูปหลายชนิด   L. monocytogenes มีความสามารถในการทนทานต่อสภาวะแวดล้อมต่างๆ ได้ดี  จากการศึกษากราฟการเจริญที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส  ของ L. monocytogenes ซึ่งแยกได้จากผู้ป่วยที่โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพฯ  พบว่า  L. monocytogenes มีระยะพักตัว (Lag phase)ในชั่วโมงที่ 0-5 และจะเข้าสู่ระยะเฟสคงที่ (Stationary phase) หลังจากชั่วโมงที่ 17 เมื่อศึกษาการทนทานต่อกรดไฮโดรคลอริก ของ L. monocytogenes  หลังผ่านความเครียดชนิดเดี่ยว  พบว่าเซลล์ที่ผ่านการช็อคด้วยกรดอะซิติก pH 5.0 5.5 และ 6.0  กรดซิตริก  pH 4.5 5.0 และ 5.5  กรดแลคติก pH 4.5 5.0 5.5 และ6.0  กรดไฮโดรคลอริก pH 4.5 5.0 และ 5.5  การปรับตัวต่อกรดแลคติก  การช็อคด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ 42.5 45 และ 48 องศาเซลเซียส  การช็อคด้วยความเย็นที่อุณหภูมิ 4 10 และ 15 องศาเซลเซียส  การช็อคด้วยอุณหภูมิการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 และ -20 องศาเซลเซียส  และความเครียดจากสภาวะการขาดอาหาร  จะมีการทนทานต่อกรดเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเซลล์ควบคุม  ในขณะที่การช็อคด้วยกรดอะซิติก pH 4.5  และการช็อค ด้วยแรงดันออสโมติกที่ระดับความเข้มข้นของ NaCl 15%  จะมีค่าการทนทานต่อกรดลดลงเมื่อเทียบกับเซลล์ควบคุม (p≤0.05) และเมื่อศึกษาการทนทานต่อกรดไฮโดรคลอริกของเชื้อ L. monocytogenes หลังผ่านความเครียดชนิดร่วม  พบว่าการช็อคด้วยกรดไฮโดรคลอริกร่วมกับความร้อน  การช็อคด้วยกรดอะซิติกร่วมกับความเย็น การช็อคด้วยกรดซิตริกร่วมกับความเย็น การช็อคด้วยกรดแลคติกร่วมกับความเย็น  การช็อคด้วยกรดไฮโดรคลอริกร่วมกับความเย็น  การช็อคด้วยแรงดันออสโมติกร่วมกับกรดอะซิติก  การช็อคด้วยแรงดันออสโมติกร่วมกับกรดซิตริก การช็อคด้วยแรงดันออสโมติกร่วมกับกรดแลคติก การช็อคด้วยแรงดันออสโมติกร่วมกับกรดไฮโดรคลอริก  การช็อคด้วยแรงดันออสโมติกร่วมกับความร้อน  การช็อคด้วยแรงดันออสโมติกร่วมกับความเย็น  การช็อคด้วยกรดอะซิติกร่วมกับแรงดันออสโมติกและความร้อน การช็อคด้วยกรดซิตริกร่วมกับแรงดันออสโมติกและความร้อน  การช็อคด้วยกรดแลคติกร่วมกับแรงดันออสโมติกและความร้อน  การช็อคด้วยกรดไฮโดรคลอริกร่วมกับแรงดันออสโมติกและความร้อน  การช็อคด้วยกรดอะซิติกร่วมกับแรงดันออสโมติกและความเย็น  การช็อคด้วยกรดซิตริกร่วมกับแรงดันออสโมติกและความเย็น  การช็อค ด้วยกรดแลคติกร่วมกับแรงดันออสโมติกและความเย็น  การช็อคด้วยกรดไฮโดรคลอริกร่วมกับแรงดันออสโมติกและความเย็นจะมีค่าการทนทานต่อกรดเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเซลล์ควบคุม (p≤0.05)  นอกจากนี้เมื่อศึกษาการทนทานความร้อนที่อุณหภูมิ 57 องศาเซลเซียส ของ L. monocytogenes หลังผ่านความเครียดชนิดเดี่ยว  พบว่าเซลล์ที่ผ่านการช็อคด้วยกรดไฮโดรคลอริก pH 4.5 5.0 และ 5.5  การช็อคด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ 42.5 45 และ 48 องศาเซลเซียส  การช็อคด้วยแรงดันออสโมติกที่ระดับความเข้มข้นของ NaCl 2 4.5 6 8 10.5 และ 15%  และความเครียดจากสภาวะการขาดอาหาร  จะมีค่าการทนทานความร้อนเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเซลล์ควบคุม ในขณะที่การช็อคด้วยกรดอะซิติก pH 4.5 และ 5.0  การช็อคด้วยกรดแลคติก pH 4.5 การปรับตัวต่อกรดแลคติก  การช็อคด้วยความเย็นที่อุณหภูมิ 4 10 และ 15 องศาเซลเซียส และการช็อคด้วยอุณหภูมิการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 และ -20 องศาเซลเซียส  จะมีค่าการทนทานความร้อนลดลง เมื่อเทียบกับเซลล์ควบคุม (p≤0.05)  ผลการศึกษาความสามารถในการทนทานความร้อนของเชื้อ L. monocytogenes ที่อุณหภูมิ 57 องศาเซลเซียส หลังผ่านความเครียดชนิดร่วม  พบว่าการช็อคด้วยกรดอะซิติกร่วมกับการช็อคด้วยความร้อน  การช็อคด้วยซิตริกร่วมกับความร้อน  การช็อคด้วยกรดแลคติกร่วมกับความร้อน  การช็อคด้วยกรดไฮโดรคลอริกร่วมกับความร้อน การช็อคด้วยแรงดันออสโมติกร่วมกับการช็อคด้วยกรดอะซิติก  การช็อคด้วยแรงดันออสโมติกร่วมกับกรดซิตริก  การช็อคด้วยแรงดันออสโมติกร่วมกับกรดแลคติก  การช็อคด้วยแรงดันออสโมติกร่วมกับกรดไฮโดรคลอริก การช็อคด้วยแรงดันออสโมติกร่วมกับความร้อน การช็อคด้วยกรดอะซิติกร่วมกับแรงดันออสโมติกและความร้อน  การช็อคด้วยกรดซิตริกร่วมกับแรงดันออสโมติกและความร้อน  การช็อคด้วยกรดแลคติกร่วมกับแรงดันออสโมติกและความร้อน  และการช็อคด้วยกรดไฮโดรคลอริกร่วมกับแรงดันออสโมติกและความร้อน  จะมีค่าการทนทานความร้อนเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเซลล์ควบคุม (p≤0.05)  ในขณะที่การช็อคด้วยกรดอะซิติกร่วมกับแรงดันออสโมติกและความเย็น  การช็อคด้วยกรดซิตริกร่วมกับแรงดันออสโมติกและความเย็น  การช็อคด้วยกรดแลคติกร่วมกับแรงดันออสโมติกและความเย็น  และการช็อค ด้วยกรดไฮโดรคลอริกร่วมกับแรงดันออสโมติกและความเย็น  จะมีค่าการทนทานความร้อนลดลง เมื่อเทียบกับเซลล์ควบคุม (p≤0.05)