บทคัดย่องานวิจัย

ผลของการใช้สาร n-propyl dihydrojasmonate และกรด abscisic ภายหลังการเก็บเกี่ยวต่อการลดการเกิดอาการสะท้านหนาวของผลพลับ (Diospyros kaki cv. ‘Nishimurawase’) เก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ

สุกัญญา แก้วจันทึก

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว) คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. 144 หน้า. 2551.

2551

บทคัดย่อ

ผลของการใช้สาร n-propyl dihydrojasmonate และกรด abscisic ภายหลังการเก็บเกี่ยวต่อการลดการเกิดอาการสะท้านหนาวของผลพลับ (Diospyros kaki cv. ‘Nishimurawase’) เก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ

อาการสะท้านหนาว (chilling injury) ของพืชทำให้เนื้อเยื่อพืชเกิดความเสียหาย เกิดจากพืชได้รับความเครียดเมื่อเก็บรักษาไม้ที่อุณหภูมิต่ำ จกานั้นพืชจะมีการผลิตอนุมูลอิสระ (ROS) ขึ้น ดังนั้นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา และชีวเคมีของพลับระหว่างการเกิดอาหารสะท้านหนาวจึงเป็นแนวทางในการนำเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมมาใช้ลดและป้องกันการเกิดอาการสะท้านหนาว จากการศึกษา พบว่า การเก็บรักษาผลพลับไว้ที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส มีอาการสะท้านหนาวรุนแรงกว่าการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส การเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส ช่วยชะลอการสุกและรักษาคุณภาพภายหลังการเก็บเกี่ยวของผลพลับ ในการใช้สาร n-propyl dihydrojasmonate (PDJ) และกรด abscisic (ABA) เพื่อลดการเกิดอาการสะท้านหนาว และลดการผลิตอนุมูลอิสระของผลพลับที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ โดยใช้สาร PDJ และ ABA ที่ระดับความเข้มข้น 250 ppm เก็บรักาไว้ที่อุณหภูมิ 4 และ 0 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8 สัปดาห์ หลังจากนั้นนำมาเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 วัน พบว่า สารทั้งสองชนิดมีผลต่อกระบวนการสุกของผลพลับโดบกระตุ้นการผลิตเอทิลีน การใช้สาร PDJ สามารถลดการเกิดอาการสะท้านหนาว และมีผลต่อการสุกของผลพลับโดยมีการเพิ่มขึ้นของแคโรทีนอยด์ น้ำตาลกลูโคส และน้ำตาลซูโครสมากกว่าการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส (ชุดควบคุม) อย่างไรก็ตาม การใช้สาร PDJ ทำให้ผลพลับมีการเปลี่ยนแปลงสี น้ำหนัก ความแน่นเนื้อ ปริมาณคลอโรฟิลล์ต่ำกว่าในชุดควบคุม มีกิจกรรมของเอนไซม์ polyphenol oxidase (PPO) ต่ำกว่าในชุดควบคุม ในขณะที่ปริมาณวิตามินซี (Vitamin C) สูงกว่าชุดควบคุม การใช้สาร PDJ ยังมีผลในการลดกิจกรรมของเอนไซม์ lipoxygenase (LOX) และการสะสม malomdialdehyde (MDA) ลดลง ทำให้เสถียรภาพของเมมเบรนระหว่างเก็บรักาที่อุณหภูมิต่ำกว่าในชุดควบคุม การใช้สาร PDJ มีผลกระตุ้นกิจกรรมของเอนไซม์ superoxide dismutase (SOD), peroxidase (POD), catalase (CAT) และ ascorbate peroxidase (APX) สูงกว่าการเก็บรักาที่อุณหภูมิต่ำในชุดควบคุม จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การใช้สาร PDJ สามารถลดการเกิดอาการสะท้านหนาวของผลพลับโดยกระตุ้นเอนไซม์ในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ จากผลการทดลองพบว่าการใช้ PDJ ยังมีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและชีวเคมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีผลต่อกระบวนการสุกและการเสื่อมสภาพของผลพลับ