บทคัดย่องานวิจัย

อิทธิพลของความเข้มแสงและการพ่นหมอกต่อการเจริญเติบผลผลิตและคุณภาพของมะเขือเทศที่ปลูกในโรงเรือนพลาสติก

ระพีพรรณ ประจันตะเสน

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (พืชสวน) คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 103 หน้า. 2551.

2551

บทคัดย่อ

อิทธิพลของความเข้มแสงและการพ่นหมอกต่อการเจริญเติบผลผลิตและคุณภาพของมะเขือเทศที่ปลูกในโรงเรือนพลาสติก

มะเขือเทศมีพื้นที่การผลิตที่สำคัญอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพบว่าสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมในช่วงฤดูกาลผลิต เนื่องจากความเข้มแสงที่มากส่งผลทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นนอกจากนี้การกระจายของปริมาณฝนที่ไม่สม่ำเสมอ ไปมีผลกระทบต่อผลผลิตและคุณภาพปัจจุบันการปลูกพืชในโรงเรือนจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหานี้เพราะสามารถป้องกันพืชให้พ้นจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ การทดลองที่  1คือปลูกมะเขือเทศพันธุ์ มข. 40ภายใต้โรงเรือนที่มีการพรางแสงและการพ่นหมอก ระหว่างเดือนตุลาคม 2547-มกราคม 2548ซึ่งวางแผนการทดลอง strip plot design โดยมีการพรางแสง 3ระดับ คือ 0 (ไม่พรางแสง) ,30และ 50เปอร์เซ็นต์ เป็นปัจจัยหลักการและการพ่นหมอก 2ระดับ คือ พ่น (2ครั้ง/วัน) และไม่พ่นเป็นปัจจัยรอง การทดลองที่ 2วางแผนการทดลองแบบ randomized complete block design โดยศึกษาความถี่ของการพ่นหมอก 3ระดับ คือการพ่นหมอก 2, 4และ 7ครั้ง/วัน ระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน 2548และการทดลองที่ 3คือการศึกษาคุณภาพหลังการเก็บรักษาซึ่งวางแผนการทดสอบแบบ 2 x 7 factorial in RCBD โดยนำผลมะเขือเทศจาก 7แหล่ง คือจากสภาพแปลงปลูกและอีก 6แหล่งจากการปลูกภายใต้โรงเรือนที่ได้รับการพรางแสง 3ระดับ(0, 30และ 50เปอร์เซ็นต์) และการพ่นหมอก 2ระดับ (พ่น และไม่พ่น) แล้วนำมาเก็บรักษาที่อุณหภูมิที่เหมาะสม และอุณหภูมิ และอุณหภูมิห้อง โดยทำการทดสอบระหว่างเดือนธันวาคม 2548-มีนาคม 2549

จากการศึกษาพบว่า การพรางแสงที่เพิ่มขึ้นสามารถลดความเข้มแสง และอุณหภูมิภายในโรงเรือนได้เล็กน้อย การปลุกมะเขือเทศภายใต้โรงเรือนโดยไม่พรางแสงทำให้แสงส่องผ่านโรงเรือน 34,000ลักซ์ ซึ่งเป็นความเข้มแสงที่เหมาะสม ทำให้ได้ผลผลิต น้ำหนักผล ความหนาเนื้อ และวิตามินซีเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามอากาก้นผลเน่าลดลงเมื่อพืชได้รับการพรางแสงเพิ่มขึ้น สำหรับความถี่ของการพ่นหมอกมีผลต่อน้ำหนักผล ความหนาเนื้อ ปริมาณกรด ปริมาณวิตามินซีและไลโคพีน โดยหารพ่นหมอก 7ครั้ง/วัน ทำให้มะเขือเทศมีน้ำหนักผล ปริมาณกรด ไลโคปพีนมากขึ้น และสามารถอาการก้นผลเน่าได้ ส่วนการพ่นหมอก 2ครั้ง/วัน ทำให้มะเขือเทศมีความแน่นเนื้อและวิตามินซีเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การพ่นหมอกที่เพิ่มขึ้นมีแนวโน้มทำให้อายุการเก็บรักษาผลมะเขือเทศยาวนานขึ้น

สำหรับการศึกษาคุณภาพหลังการเก็บเก็บรักษาพบว่ามะเขือเทศซึ่งรักษาที่อุณหภูมิ 12±10C มีปริมาณกรด วิตามินซี ของแข็งที่ละลายน้ำได้ ความแน่นเนื้อมาก และอัตราการผลิต เอทิลีนและการหายใจต่ำ ส่วนผลิตผลที่ได้จากการปลูกภายใต้ความเข้มแสงที่สูง (34,000 ลักซ์) มีปริมาณวิตามินซี ไลโคพีน ของแข็งที่ละลายน้ำได้ และความแน่นเนื้อมากกว่าผลิตผลที่ได้จากการปลูกภายใต้ความเข้มแสงต่ำ (15,000 ลักซ์) สำหรับผลิตผลที่ได้จากการพ่นหมอกมีปริมาณกรด วิตามินซี ของแข็งที่ละลายน้ำ และไลคพีนมาก นอกจากนี้ผลผลิตที่ปลูกภายใต้ความเข้มแสงมาก (34,000 ลักซ์) ร่วมกับการพ่นหมอกเมื่อเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 12±1°C มีอัตราการลดลงของวิตามินซีอย่างช้าๆ ส่วนผลิตผลที่ปลูกภายใต้ความเข้มแสงต่ำ (15,000 ลักซ์) ร่วมกับการพ่นหมอกมีแนวโน้มยืดอายุการเก็บรักษาเนื่องจากการผลิตเอทิลีนและอัตราการหายใจต่ำ นอกจากนี้ผลิตผลที่ได้จากสภาพแปลงปลูกนั้นมีปริมาณ ไลโคพีนมาก และอตราการผลิตเอทิลีนและอัตราการหายใจสูงในระหว่างการเก็บรักษา ดังนั้นเทคนิคการพรางแสงสามารถนำไปใช้กับมะเขือเทศที่ปลูกในสภาพแปลงเพื่อให้ได้คุณภาพของผลที่ดีขึ้น