บทคัดย่องานวิจัย

แนวทางการพัฒนาศักยภาพการส่งออกของโรงสีข้าวหอมมะลิในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ณัฐธิดา นิลไสล

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 311 หน้า. 2550.

2550

บทคัดย่อ

แนวทางการพัฒนาศักยภาพการส่งออกของโรงสีข้าวหอมมะลิในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในการศึกษาวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนาศักยภาพการส่งออกของโรงสีข้าวหอมมะลิในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการความช่วยเหลือด้านการส่งออก โดยกลุ่มประชากรที่ทำการศึกษาคือ โรงสีข้าวหอมมะลิในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งส่งออกและยังไม่ได้ส่งออก ใช้แบบสอบถามเพื่อสัมภาษณ์ทางไปรษณีย์ (Mail Interview) โดยส่งแบบสอบถามจำนวน 429 ตัวอย่าง และได้รับแบบสอบถามตอบกลับจำนวน 102 ชุด คิดเป็นร้อยละ 23.8 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ  ความถี่  การหาค่าคะแนนเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบ t–test  และ F–test การวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี Least Significant Difference (LSD)

จากการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย  อายุประมาณ 31–40 ปี การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี สถานภาพเป็นเจ้าของกิจการ/บุคคลในครอบครัว มีปัญหา  ด้านการตลาด และ ด้านการเข้าถึงบริการของรัฐนั้นอยู่ในระดับมาก  ส่วนปัญหาด้านการผลิตและเทคโนโลยี  ด้านการเงิน/บัญชี ด้านการจัดการ/บริหารบุคคล  ด้านประเทศคู่ค้าและด้านประเทศคู่แข่งขัน อยู่ในระดับปานกลาง มีความต้องการความช่วยเหลือด้านการเตรียมความพร้อมในการส่งออก   การผลิตและเทคโนโลยี   การตลาด  การเงิน/บัญชี   การจัดการ/บริหารบุคคล   และการเข้าถึงบริการของรัฐ อยู่ในระดับมาก  ซึ่งจากการศึกษานั้นพบว่าโรงสีผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือควรมีการแก้ปัญหาและพัฒนาศักยภาพดังนี้

โรงสีขนาดกลางและขนาดใหญ่มีปัญหาในระดับมาก เช่นอัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวน  ภาครัฐเข้าแทรกแซงด้านราคาข้าวเปลือกทำให้ต้นทุนสูง เป็นต้น ส่วนในระดับปานกลาง เช่น   ต้นทุนการผลิตสูง   ขาดแคลนวัตถุดิบ/ผลผลิตไม่แน่นอน เป็นต้น และต้องมีการพัฒนาศักยภาพในระดับมาก เช่น มาตรฐานในการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ การหาตลาดต่างประเทศ เป็นต้น ส่วนในระดับปานกลาง เช่น ความรู้ในการบริหารงานบุคคลในองค์กร  การสนับสนุนด้านบุคลากร เป็นต้น

โรงสีที่มีระยะเวลาดำเนินการของกิจการต่ำกว่า 5 ปี  5-10ปี  11-15 ปี และ มากกว่า 15 ปี มีปัญหาในระดับมาก เช่นขาดการสนับสนุนด้านการตลาดจากทางภาครัฐ ขาดความรู้ในการทำตลาดในต่างประเทศ เป็นต้น ส่วนในระดับปานกลาง เช่น ขาดการสนับสนุนจากสถาบันการเงิน  กระบวนการผลิตยังไม่เป็นมาตรฐานสากล เป็นต้น และต้องมีการพัฒนาศักยภาพในระดับมาก เช่นการสร้างความน่าเชื่อถือและการรู้จักกับลูกค้า  ความรู้เกี่ยวกับระเบียบ/วิธีในการส่งออก เป็นต้น ส่วนในระดับปานกลางเช่น การสนับสนุนด้านการผลิต  ความรู้ในการบริหารงานบุคคลในองค์กร เป็นต้น

โรงสีรูปแบบเจ้าของคนเดียว  ห้างหุ้นสวนจำกัด บริษัทจำกัด และสหกรณ์ มีปัญหาในระดับมาก เช่น  ภาครัฐเข้าแทรกแซงด้านราคาข้าวเปลือกทำให้ต้นทุนสูง  ส่วนระดับปานกลาง เช่น  ขาดแคลนวัตถุดิบ/ผลผลิตไม่แน่นอน  ระบบบัญชี/การเงินยังไม่เป็นมาตรฐาน เป็นต้น โรงสีที่เคยส่งออก ไม่เคยส่งออกแต่มีแผนจะส่งออกใน 3 ปีข้างหน้า และ ไม่เคยส่งออกและไม่มีแผนจะส่งออกใน 3 ปีข้างหน้ามีปัญหาในระดับมาก เช่น ภาครัฐเข้าแทรกแซงด้านราคาข้าวเปลือกทำให้ต้นทุนสูง ขาดการสนับสนุนด้านการตลาดจากทางภาครัฐ เป็นต้น ส่วนในระดับปานกลาง เช่น ต้นทุนการผลิตสูง ขาดแคลนวัตถุดิบ/ผลผลิตไม่แน่นอน เป็นต้น และต้องมีการพัฒนาศักยภาพในระดับมาก เช่น การสร้างความน่าเชื่อถือและการรู้จักกับลูกค้า ความรู้ด้านพิธีการและเอกสารในการส่งออก เป็นต้น

โรงสีที่มีภูมิภาคของประเทศคู่ค้าส่วนใหญ่อยู่ในเอเชีย ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกามีปัญหาในระดับมาก เช่น ขาดความรู้ในการทำตลาดในต่างประเทศ ขาดความรู้ในเรื่องเงื่อนไขสัญญาการซื้อขายกับต่างประเทศที่ชัดเจน เป็นต้น และต้องมีการพัฒนาศักยภาพในระดับมาก เช่น ความรู้เกี่ยวกับตลาดในต่างประเทศ ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการนำเข้าสินค้าของแต่ละประเทศ เป็นต้น ส่วนระดับปานกลาง เช่น ความรู้ด้านการบริหารการเงิน และความรู้ในการบริหารงานบุคคลในองค์กร   เป็นต้น

ผู้ส่งออก มีปัญหาสำคัญในการส่งออก เรื่อง ขาดแคลนวัตถุดิบ          ในข้าถึงบริการของรัฐรส่งออก

งต่อไปนี้ภาครัฐเข้าแทรกแซงด้านราคาข้าวเปลือกทำให้ต้นทุนสูง    ค่าเงินบาทแข็งขึ้น ขาดพนักงานที่มีทักษะด้านการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศขาดแคลนแรงงาน ภาครัฐให้ความช่วยเหลือยังไม่ต่อเนื่องและต้องการความ   ช่วยเหลือเรื่อง การสร้างความน่าเชื่อถือและการรู้จักกับลูกค้า ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการนำเข้าสินค้าของแต่ละประเทศ ความรู้ด้านวิธีการหาตลาด  การสนับสนุนจากสถาบันการเงิน การพัฒนาคุณภาพบุคลากรให้สามารถติดต่อซื้อขายกับต่างชาติได้และแหล่งข้อมูลในการส่งเสริมการส่งออก  

ดังนั้นการพัฒนาศักยภาพการส่งออกของโรงสีข้าวหอมมะลิ ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ควรมีการพัฒนาศักยภาพด้านการตลาด ความรู้ในการทำตลาดในต่างประเทศ  ความรู้เกี่ยวกับระเบียบ/วิธีในการส่งออก ความรู้ด้านพิธีการและเอกสารในการส่งออก  ความรู้ในเรื่องเงื่อนไขสัญญาการซื้อขายกับต่างประเทศที่ชัดเจน  และความรู้เกี่ยวกับตลาดในต่างประเทศ ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการนำเข้าสินค้าของแต่ละประเทศ  นอกจากนี้ควรมีการพัฒนาการสร้างความน่าเชื่อถือและการรู้จักกับลูกค้า  และหากภาครัฐจะเข้าแทรกแซงด้านราคาข้าวเปลือกควรพิจารณาที่จะทำให้ต้นทุนสูง