͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

ศึกษาคาร์บอนเครดิตในระบบผลิตอ้อย

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 52

ศึกษาคาร์บอนเครดิตในระบบผลิตอ้อย
ความเข้มข้นของการประชุมอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก สะท้อนให้เห็นว่า การดำเนินมาตรการเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก คือปัญหาระดับโลกที่นานาชาติต้องร่วมกันแก้ไข และประเทศไทยเองแม้จะไม่ได้อยู่ภายใต้พันธกรณีพิธีสารเกียวโตที่จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2555 แต่ขณะนี้ทางสหภาพยุโรปและอีกหลายประเทศทั่วโลกต่างก็เริ่มมีโครงการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาให้เห็นบ้างแล้ว ดังเช่น เครื่องบินที่บินเข้าน่านฟ้าสหภาพยุโรปจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 3% ภายในปี 2555 ซึ่งประเทศไทยเองก็หลีกเลี่ยงมาตรการดังกล่าวไม่ได้

ดังนั้นการสร้างข้อมูลและแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย จึงเป็นสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการอย่างยิ่ง ล่าสุด นางสาวมณฑิรา ยุติธรรม นักศึกษาปริญญาเอก สายวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ได้ศึกษา “การหมุนเวียนเชิงปริมาณของคาร์บอนในระบบการผลิตอ้อยในประเทศไทย” โดยหวังใช้เป็นกรณีศึกษาและหนึ่งในฐานข้อมูลสำหรับแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย

มณฑิรา กล่าวว่า การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นับเป็นแนวทางการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ ซึ่งในประเทศไทยเองยังไม่มีการศึกษาตัวเลขการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นระบบ ยิ่งเฉพาะในภาคเกษตร จึงทำให้สนใจศึกษาอ้อย เนื่องจากอ้อยเป็นพืชพลังงานที่สามารถนำเศษวัสดุเหลือใช้ไปผลิตเป็นพลังงานได้ อีกทั้งประเทศไทยมีการปลูกอ้อยจำนวนมาก มีการผลิตอ้อยสูงเป็นลำดับที่ 4 ของโลก รองจาก บราซิล อินเดียและจีน ขณะที่การส่งออกน้ำตาลมีสูงมากเป็นลำดับที่ 2 ของโลก รองจาก บราซิล

ในงานวิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลทั้งระบบ ได้แก่ การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และ มีเทน (CH4) จากดิน การย่อยสลายของเศษซากอ้อย การประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น จากการจัดการการเกษตร เช่น การไถพรวน การขนส่ง รวมทั้งการจัดการการปลูกอ้อย เช่น การใส่ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลงและยา ปราบวัชพืช ฯลฯ นอกจากนี้ยังเก็บข้อมูลปริมาณการหมุนเวียนคาร์บอนที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตน้ำตาล โดยเน้นที่การนำของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตน้ำตาล เช่น ชานอ้อย ไปผลิตพลังงานทดแทน


ผลการศึกษาพบว่า การหมุนเวียนคาร์บอนในดิน มีบทบาทสำคัญในการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงถึง 50% ของการปลดปล่อยในกระบวนการเกษตรกรรมอ้อย และหากมีการเผาใบอ้อยหลังการเก็บเกี่ยวจะทำให้มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วย ส่วนในการจัดการการปลูกอ้อย พบว่า การใช้ปุ๋ยเคมี ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด รองลงมาคือ การใช้ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง นอกจากนั้นจะเป็นในส่วนของการใช้พลังงานฟอสซิลในการจัดการอื่น ๆ ได้แก่ การไถพรวน ให้น้ำ และการขนส่ง ตามลำดับ

“หากพิจารณาจากภาพรวมทั้งหมดของการศึกษา จะพบว่า หากมีการจัดการที่ดีพอ การปลูกอ้อยจะสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศได้มาก เช่น การลดการเผาใบอ้อยก่อนหรือหลังเก็บเกี่ยว รวมถึงการเปลี่ยนจากการใช้ปุ๋ยเคมีมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทน จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เกือบ 40% ของการปลดปล่อยในภาคการเกษตรกรรมอ้อย ส่วนโรงงานน้ำตาลหากมีการนำชานอ้อยมาใช้ผลิตพลังงาน เพื่อทดแทนการใช้พลังงานไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จะสามารถช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานฟอสซิลได้มากกว่า 80% ของก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยมาในกระบวนการผลิตน้ำตาลทั้งหมดด้วย” มณฑิรา กล่าว

อย่างไรก็ดีจากผลการศึกษาครั้งนี้เชื่อว่าไม่เพียงจะช่วยให้เกิดการวางแผน การจัดการเกษตรกรรมอ้อยมีคุณภาพมากขึ้น สามารถใช้ของเสียจากโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ข้อมูลการหมุนเวียนของคาร์บอนในระบบการผลิตอ้อยยังใช้เป็นแนวทางในการวางแผนลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย และอาจเป็นประโยชน์ต่อศักยภาพการผลิตคาร์บอนเครดิตในประเทศไทยในอนาคตอันใกล้นี้อีกด้วย.

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 22 ธันวาคม 2552
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=346&contentID=38608

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
  • มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
  • เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
  • อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
  • สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
  • โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
  • มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology