͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

เกษตรกรทำ 'แจ่วบอง' ขาย ทำรายได้ให้ครอบครัวอย่างดี

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 52

เกษตรกรทำ 'แจ่วบอง' ขาย ทำรายได้ให้ครอบครัวอย่างดี
"แจ่วบอง” เป็นน้ำพริกอีสานที่ชาวบ้านชาวช่องรู้จักกันดีเป็นอย่างยิ่ง อันว่า แจ่ว แปลว่า น้ำพริก แต่คำว่า บอง แปลว่าอะไรไม่รู้เหมือนกัน แจ่วบอง เรียกอีกอย่างว่า ปลาร้าบอง ที่ตอนนี้สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ผลิตและผู้จำหน่ายเป็นอย่างดี เพราะมันมีรสชาติที่แซบหลาย ด้วยเหตุฉะนี้ จึงต้องรับประทานกับผัก เพื่อคลายความเผ็ดร้อนลง

นางอัจฉรา เดชพรรณา ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรวิสาหกิจชุมชนนาจารย์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ เล่าให้ฟังว่า กลุ่มฯ มีสมาชิก 20 คน แปรรูปปลาร้า เป็นปลาร้าบอง ด้วยการนำเครื่องปรุงต่าง ๆ เข้าไปผสมหลายรูปแบบ ทำให้ได้หลายรสหลายสูตร เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกรสได้ตามอารมณ์อยาก ตามความชอบ เรียกได้ว่า ชอบแบบไหนมีให้เลือกได้หลายแบบ

การทำปลาร้าถือเป็นภูมิปัญญาของคนอีสาน ในการถนอมอาหารไว้กินนาน ๆ ซึ่งได้จากการนำปลามาทำความสะอาด คลุกด้วยเกลือและรำอ่อนและข้าวคั่ว ก่อนนำไปหมักในไหหรือภาชนะที่ปิดฝาให้แน่นสนิท เป็นเวลาประมาณ 1 ปี ก็จะได้ปลาร้าที่มีรสชาติดี พร้อมที่จะนำมารับประทานหรือนำมาปรุงอาหารได้

การนำปลาร้ามาเข้าเครื่องหรือทำปลาร้าบอง ก็หมายถึงการเพิ่มรสชาติของการกินปลาร้าให้แปลกออกไปจากที่เคยรับประทานทุก เมื่อเชื่อวันนั่นเองจะได้ไม่จำเจซ้ำซาก เหมือนคนรับประทานน้ำพริกถ้วยเก่า รสชาติเก่า ๆ มันก็น่าเบื่อเป็นธรรมดาตามประสาวิญญูชน หากเปลี่ยนรสชาติไปบ้างก็เหมือนรับประทานน้ำพริกถ้วยใหม่จะได้ไม่น่าเบื่อไง ด้วยปลาร้าธรรมดาเมื่อตักออกมารับประทานจะให้รสเค็มอย่างเดียว แต่พอใส่เครื่องปรุงเข้าไป ก็จะได้รสชาติที่แปลกใหม่ ชวนรับประทาน นำมารับประทานกับข้าวเหนียวหรือข้าวสวยก็ได้ สามารถเก็บไว้ได้นานนับเดือนทีเดียว

จากความอร่อยของปลาร้าบอง ชาวอีสานจึงนำเผยแพร่ ออกสู่คนต่างถิ่น กระทั่งทุกวันนี้ ปลาร้าบองได้โกอินเตอร์อย่างภาคภูมิใจ ทำรายได้ให้ผู้ผลิตอย่างดี ข้อนี้มิใช่อะไร เพราะมีชาวอีสานไปทำงานยังต่างประเทศเป็นจำนวนมากนั่นเอง

สำหรับกรรมวิธีการทำปลาร้าบองของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์  ประธานกลุ่ม กล่าวว่าสูตรที่ทำอยู่ทุกวันนี้มีส่วนผสมคือ ปลาร้าที่นำมาทำปลาร้าบอง ต้องเป็นปลาที่ผ่านการหมักมาไม่น้อยกว่า 1 ปี ซึ่งนิยมใช้ปลาช่อนเพราะมีเนื้อนุ่มกว่าปลาชนิดอื่น การทำปลาร้าบอง มีส่วนผสมคือ พริก  500 กรัม ข่า 300 กรัม กระเทียม 5 กก. หอม 5 กก. งา 300 กรัม ใบมะกรูด 200 กรัมและปลาร้า 6 กก.

วิธีการทำก็คือ นำส่วนผสมดังกล่าวทุกอย่างอบให้สุกและนำไปบดให้ละเอียด นำปลาร้าไปต้มให้สุกกรองเอาแต่น้ำแล้วนำเครื่องปรุงที่เตรียมไว้ทั้งหมดมารวมกันนำไปเข้าเครื่องนวดผสมให้เข้ากันจนละเอียด  แล้วนำน้ำปลาร้าที่สุกแล้วเทลงในเครื่องนวดผสมเข้ากันดีจนเหนียวได้ที่ก็เป็นอันเสร็จพิธี จากนั้นนำไปบรรจุกล่อง โดยการชั่งน้ำหนักให้ได้ 80 กรัมต่อ 1 กระปุก จำหน่ายด้วยราคา 10 บาท ส่วนอีกราคาหนึ่งคือ 50 บาท บรรจุในกระปุกด้วยน้ำหนัก 500 กรัม

แต่กว่าที่จะจำหน่ายได้ราคาดีจนทุกวันนี้ มีหลายหน่วยงานที่คอยให้กำลังใจและสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดสร้างอาคาร ซื้อวัสดุอุปกรณ์และให้เงินหมุนเวียน เมื่อปี 2545 เช่น กศน.จ.กาฬสินธุ์ สนับสนุนเงิน 13,000 บาท อบจ.กาฬสินธุ์ สนับสนุนเงิน 100,000 บาท เทศบาลตำบลนาจารย์หนุนเงิน 360,000 บาท จังหวัดกาฬสินธุ์สนับสนุนงบซีอีโอ 100,000 บาท สหกรณ์สนับสนุน 40,000 บาท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานสนับสนุนอุปกรณ์ตู้อบไฟฟ้า  ตู้ตากพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมให้ความรู้ด้านการแปรรูปอาหารอีกด้วย ส่วนกรมส่งเสริมการเกษตรสนับสนุนเงิน 150,000 บาท จัดซื้ออุปกรณ์และบรรจุภัณฑ์

การทำปลาร้าบองนั้น ส่วนประกอบล้วนมาจากผลผลิตที่สามารถผลิตได้เองด้วยคนในชุมชน เครื่องประกอบต่าง ๆ ล้วนเป็นสมุนไพรที่สามารถปลูกเองได้ ปลูกได้ทุกบ้าน และผักที่นำรับประทานด้วยนี้ก็เป็นผักพื้นบ้านที่มีคุณประโยชน์ นับเป็น กิจกรรมอย่างหนึ่งที่เป็นการเพิ่มมูลค่าของทรัพยากรในท้องถิ่น

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 15 ธันวาคม 2552
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=344&contentID=37340

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
  • มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
  • เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
  • อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
  • สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
  • โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
  • มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology