͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

ผลไม้ฉายรังสีไปสหรัฐแนวโน้มดี

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 52

ผลไม้ฉายรังสีไปสหรัฐแนวโน้มดี นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยความคืบหน้าการส่งออกผลไม้ฉายรังสีไปยังสหรัฐอเมริกาว่า การส่งออกมีแนวโน้มค่อนข้างดีและตลาดกำลังขยายตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การส่งออกผลไม้ฉายรังสีไปสหรัฐ ในช่วงแรก ๆ พบว่าสินค้าบางส่วนเกิดความเสียหายโดยเฉพาะผลไม้เปลือกบาง มกอช. จึงได้ร่วมมือกับคณาจารย์และนักวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ดำเนินโครงการศึกษาการลดความเสียหายของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้เบอร์ 4 และมังคุดที่ฉายรังสีแกมมาเพื่อการส่งออกไปตลาดสหรัฐ เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสี

“ผลการศึกษาพบว่า มะม่วงและมังคุดที่ได้รับการดูแลขั้นตอนต่าง ๆ อย่างถูกต้อง ตั้งแต่เก็บเกี่ยวที่ความสุกตามมาตรฐาน และได้รับการฉายรังสีอย่างเหมาะสม คัดบรรจุและขนส่งอย่างถูกวิธี โดยเฉพาะอุณหภูมิการเก็บรักษาสินค้าควรอยู่ ที่ 13-15 องศาเซลเซียส สินค้าจะยังมีคุณภาพดีเมื่อไปถึงปลายทาง ทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจในทั้งรูปลักษณ์และรสชาติ และมีอายุการวางจำหน่ายประมาณ 1-2 สัปดาห์ ซึ่งจะช่วยให้ผลไม้เมืองร้อนของไทยสามารถแข่งขันได้มากขึ้น ที่สำคัญยังเป็นช่องทางช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งให้ผู้ประกอบการได้ จากเดิมที่ขนส่งสินค้าทางเครื่องบินทำให้มีต้นทุนสูง ในอนาคตผลการศึกษานี้จะเป็นพื้นฐานในการพัฒนากระบวนการส่งออกทางเรือ ช่วยให้ต้นทุนค่าขนส่งต่ำลงได้ ซึ่งจะช่วยผลักดันการส่งออกผลไม้ฉายรังสีไปสหรัฐได้เพิ่มมากขึ้น”ผอ.มกอช. กล่าว.

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 9 ธันวาคม 2552
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=339&contentID=36307

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
  • มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
  • เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
  • อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
  • สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
  • โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
  • มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology