͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

ส่งออกสุกรอนาคตสดใส คาดแนวโน้มขยายตัว 14% - กษ.แนะพัฒนามาตรฐานฟาร์ม

เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 52

ส่งออกสุกรอนาคตสดใส คาดแนวโน้มขยายตัว 14% - กษ.แนะพัฒนามาตรฐานฟาร์ม

นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เผยว่า กระทรวงเกษตรฯมีนโยบายส่งเสริมพัฒนามาตรฐานการผลิตสุกร เพื่อรองรับความต้องการของตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเร่งเข้าไปพัฒนาองค์ความรู้เรื่องการป้องกันโรคต่างๆ การเลี้ยงในระบบฟาร์มที่ได้มาตรฐาน การตรวจรับรองให้แก่กลุ่มผู้เลี้ยงสุกรทั่วประเทศ โดยเฉพาะภายใต้ระบบสหกรณ์ที่มีความเข้มแข็งและพึ่งพาตัวเองได้

นายธีระกล่าวอีกว่า จากข้อมูลช่วงที่ผ่านมาพบว่า การส่งออกลูกสุกรมีชีวิตและสุกรพันธุ์มีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2551 ส่งออก 428,170 ตัว มูลค่า 1,316 ล้านบาท และปี 2552 ระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม ส่งออกไปแล้วทั้งสิ้น 384,867 ตัว มูลค่า 850 ล้านบาท ส่วนการส่งออกเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ ในปี 2551 มีทั้งหมด 12,463 ตัน คิดเป็น 1,896 ล้านบาท และปี 2552 ระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม มีทั้งสิ้น 9,036 ตัน คิดเป็น 1,662 ล้านบาท โดยเนื้อสุกรแช่แข็งส่งออกไปฮ่องกง เนื้อสุกรแปรรูปส่งออกไปญี่ปุ่น จึงคาดการณ์แนวโน้มการส่งออกเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ปี 2553 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องประมาณ 14 % ปี จากในปี 2552 มีการขยายตัว 12 %

" ปัจจุบันตลาดการบริโภคสุกรในประเทศขณะนี้ มีปริมาณทั้งหมด 1.08 ล้านตัน หรือเฉลี่ย 16 กิโลกรัม/คน/ปี แต่ผลผลิตที่เหลือบริโภคในประเทศกลับลดลง จึงส่งผลให้ราคาสุกรมีชีวิตค่อนข้างสูงตลอดทั้งปี เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58 บาท ซึ่งเพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 4 ขณะที่เนื้อสุกรชำแหละเนื้อแดงปรับตัวสูงขึ้นเป็น 110 - 120 บาท โดยมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย กก.ละ 53 บาท จึงถือได้ว่าเป็นโอกาสในการขยายตลาดการบริโภคเนื้อสุกรแปรรูปและผลิตภัณฑ์ ได้เพิ่มมากขึ้นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้" นายธีระ กล่าว

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 2 ธันวาคม 2552
http://www.naewna.com/news.asp?ID=189768

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
  • มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
  • เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
  • อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
  • สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
  • โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
  • มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology