͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

เดินเครื่องยุทธศาสตร์ใหม่ "ฟู้ดเซฟตี้" ปี'53-55 มุ่งพัฒนามาตรฐาน เพิ่มศักยภาพแข่งตลาดโลก

เมื่อวันที่ 29 กันยายน 52

เดินเครื่องยุทธศาสตร์ใหม่ "ฟู้ดเซฟตี้" ปี'53-55 มุ่งพัฒนามาตรฐาน เพิ่มศักยภาพแข่งตลาดโลก

นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เผยว่า สาระสำคัญของยุทธศาสตร์มาตรฐานความปลอดภัยสินค้าเกษตรและอาหาร ปี 2553-2555 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในการดำเนินงานใหม่ คือ สร้างมาตรฐานและความปลอดภัยสินค้าเกษตรและอาหาร เพื่อคนไทยและตลาดโลก (Standard and Safety for All) โดยมีประเด็นยุทธศาสตร์ 5 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ 1. พัฒนาสินค้าเกษตรคุณภาพรายสินค้าพืช ประมง ปศุสัตว์โดยกำหนดเขตพื้นที่ผลิตสินค้าคุณภาพ เพื่อให้มีแหล่งวัตถุดิบ/ผลผลิตที่มีคุณภาพป้อนตลาด พร้อมสร้างความแน่นอนด้านตลาดสำหรับสินค้าเป้าหมายด้วย 2. สนับสนุนผู้ผลิตรายย่อยเข้าสู่ระบบมาตรฐาน เพื่อขยายจำนวนฟาร์มมาตรฐาน GAP ที่ได้รับการรับรองให้มากขึ้น ทั้งฟาร์มพืช ฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และฟาร์มปศุสัตว์ โดยจะขยายผลการรับรองแบบกลุ่มเพื่อเร่งรัดการดำเนินงานเรื่องนี้ รวมทั้งการผลักดันให้โรงงานและสถานประกอบการต่างๆ ได้ยกระดับมาตรฐานจนได้รับการรับรอง GMP และ HACCP 3. การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และตลาดสินค้าคุณภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาคุณภาพ มาตรฐาน การแปรรูป ตลอดจนการขยายแหล่งจำหน่ายสินค้าที่ผ่านการรับรองมาตรฐานหรือสินค้า Q เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและขยายช่องทางจำหน่ายด้วย 4. สร้างความตระหนักเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยสินค้าเกษตรและอาหาร เพื่อยกระดับความรู้มาตรฐานและความปลอดภัยแก่ผู้เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่อาหาร และ 5. สร้างความมั่นใจในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารของไทย เพื่อให้เป็นที่ยอมรับทั้งภายในและต่างประเทศ และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

"ยุทธศาสตร์มาตรฐานความปลอดภัยสินค้าเกษตรและอาหารนี้ จะเป็นกรอบในการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตรไทยให้เป็นแหล่งอาหารของโลกที่ปลอดภัย เพื่อนำไปสู่ความมั่นคงด้านอาหารอย่างแท้จริง ทั้งด้านการมีอาหารอย่างเพียงพอและมีมาตรฐานความปลอดภัย ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสินค้าเกษตรและอาหารของไทย อีกทั้งยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในเวทีการค้าโลก และช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและอาหารของไทย ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ" นายธีระ กล่าว

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 29 กันยายน 2552
http://www.naewna.com/news.asp?ID=180833

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
  • มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
  • เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
  • อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
  • สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
  • โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
  • มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology