͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

คาดภัยธรรมชาติรุนแรงขึ้น เตือนเกษตรกรรับมือ

เมื่อวันที่ 28 กันยายน 52

คาดภัยธรรมชาติรุนแรงขึ้น เตือนเกษตรกรรับมือ
ภัยธรรมชาติช่วงนี้เริ่มปรากฏให้เห็นอยู่เป็นระยะ ทั้งน้ำท่วม ฝนแล้ง และโรคแมลงระบาดทำลายพืชผลทางการเกษตร ซึ่งปัจจัยเกื้อหนุนที่ทำให้สถานการณ์ภัยธรรมชาติเหล่านี้ทวีความรุนแรงมาก ขึ้นคงจะหลีกเลี่ยงเรื่องของภาวะโลกร้อนไปไม่ได้ ที่สำคัญหลายหน่วยงานยังวิเคราะห์ออกมาว่าสถานการณ์ภัยธรรมชาติต่อจากนี้จะรุนแรงยิ่งขึ้น

นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ในฐานะโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นตอนนี้ โดยเฉพาะน้ำท่วมจะเป็นลักษณะมาเร็วไปเร็ว ไม่ท่วมขังนาน ส่วนสถานการณ์ภัยแล้งนั้นคาดว่าจะรุนแรงมากขึ้น เพราะเชื่อว่าปีนี้จะได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ่ ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้ง และถ้าฝนทิ้งช่วงหรือไม่ตกที่เหนือเขื่อน ก็จะมีปริมาณน้ำในเขื่อนไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้น ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้มอบหมายให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรฯ เข้มงวดกับเจ้าหน้าที่ในระดับจังหวัดเร่งดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินสถานการณ์ พร้อมแจ้งสถานการณ์มายังศูนย์อำนวยการติดตามภัยธรรมชาติเป็นรายสัปดาห์

นอกจากภัยธรรมชาติแล้ว เรื่องโรคแมลงก็สำคัญ โดยเฉพาะเพลี้ยแป้งที่กำลังแพร่ระบาดทำลายไร่มันสำปะหลังไปทั่วประเทศ ขยายวงกว้างไปแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ล้านไร่ โดยเฉพาะที่จังหวัดนครราชสีมา แหล่งผลิตมันสำปะหลังที่ใหญ่ของประเทศได้รับผลกระทบจากเพลี้ยแป้งระบาดไป แล้วประมาณ 3-4 แสนไร่ ซึ่งขณะนี้กระทรวงเกษตรฯ ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร เข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเน้นการร่วมมือแบบบูรณาการทั้งภาครัฐ เอกชนและเกษตรกร ส่วนกรมวิชาการเกษตร มีหน้าที่เข้าไปส่งเสริมด้านเทคนิคการปลูกและวิธีดูแลรักษาผลผลิต เพื่อป้องกันเยียวยาพื้นที่ที่ประสบปัญหา

“สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังที่กำลังประสบปัญหาเพลี้ยแป้งระบาดในพื้นที่ของตัวเองแล้ว อยากให้ตัดใจโค่นทำลายทิ้ง อย่าเสียดาย เพราะถึงแม้จะเก็บไว้ก็จะได้ผลผลิตไม่มีคุณภาพ ที่สำคัญยังเป็นตัวการในการแพร่กระจายโรคไปสู่แปลงอื่นได้ด้วย ดังนั้น ขอให้เชื่อคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะถ้าจะปลูกใหม่อยากให้ซื้อท่อนพันธุ์ที่มีคุณภาพ และชุบน้ำยาป้องกันโรคก่อนที่จะปลูก และหมั่นดูแลรักษาให้ดี อย่างไรก็ตาม เชื่อมั่นว่าผลผลิตมันสำปะหลังในปีนี้จะลดลงอย่างมาก ขณะที่ความต้องการยังมีสูง ส่งผลให้แนวโน้มราคาสูงขึ้นด้วย จึงอยากให้เกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังและยังไม่พบโรคแมลงดูแลรักษาผลผลิตของตัวเองให้ดี เพราะเป็นโอกาสทองที่จะช่วยสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ”

ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติทั้ง ฝนแล้ง น้ำท่วม และโรคแมลงที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น ล้วนมีผลกระทบมาจากภาวะโลกร้อนทั้งสิ้น ถ้าเราไม่เตรียมการป้องกันตั้งแต่ตอนนี้จะส่งผลเสียต่อเกษตรกรและผล ผลิตอย่างแน่นอน ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ในฐานะที่ดูแลความเป็นอยู่ของเกษตรกรทั่วประเทศไม่ได้นิ่งนอนใจในเรื่องดังกล่าว โดยได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาภัยธรรมชาติอย่างเร่งด่วน

แม้จะมีหน่วยงานรัฐคอยดูแลช่วยเหลือ แต่เกษตรกรซึ่งเป็นผู้ที่จะได้รับผลกระทบโดยตรง จึงควรที่จะดูแลช่วยเหลือตัวเองด้วย.

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 28 กันยายน 2552
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=344&contentID=22757

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
  • มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
  • เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
  • อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
  • สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
  • โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
  • มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology