͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

'ผลไม้เมืองร้อนไทย' สยายปีกตีตลาดจีน

เมื่อวันที่ 22 กันยายน 52

'ผลไม้เมืองร้อนไทย' สยายปีกตีตลาดจีน
สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญของไทย โดยมีมูลค่าส่งออกสูงถึง 200,000 ล้านบาทต่อปี และมีสินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ข้าว ผลไม้ สดแช่เย็น-แช่แข็งและแห้ง ปลาสดแช่เย็น-แช่แข็ง กุ้งสดแช่เย็น-แช่แข็ง ปลาหมึกสดแช่เย็น-แช่แข็ง กล้วยไม้ สัตว์น้ำ จำพวกครัสตาเซีย และตะพาบน้ำ เป็นต้น ขณะนี้ผลไม้ไทยกำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวจีนอย่างมาก ทำให้ไทยสามารถส่งออกผลไม้คุณภาพดีไปจีนได้ปีละกว่า 5,000 ล้านบาท และปีนี้คาดว่ามูลค่าส่งออกจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีก เนื่องจากกระทรวงเกษตรฯ เร่งสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้า และความปลอดภัยทางอาหารให้กับผู้นำเข้า ซึ่งเป็นช่องทางที่จะช่วยขยายตลาดส่งออกผลไม้ไทยในจีนได้เพิ่มมากขึ้น

นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯ มอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตร และอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ร่วมกับสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงปักกิ่ง ภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดโรดโชว์ ศักยภาพผลไม้เมืองร้อนของไทยได้แก่ ทุเรียน มังคุด ลำไย เงาะ ลองกอง ส้มโอ และ กล้วยไข่ ที่ตลาดขายส่งสินค้าเกษตรซินฟาตี้ ณ กรุงปักกิ่ง ภายใต้ ชื่อ “ผลไม้มงคล สดจากไทยปลอดภัยได้มาตรฐานสากล”

การจัดโรดโชว์ครั้งนี้ ยังเป็นการเปิดเวทีให้ผู้ส่งออกผลไม้ของไทยได้พบปะกับผู้นำเข้าและลูกค้าชาวจีนที่มาซื้อผลไม้ ณ ตลาดผลไม้กรุงปักกิ่ง ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรให้ตรงตามความต้องการของตลาด ซึ่งผลการจัดงานปรากฏว่าได้รับความสนใจจากผู้นำเข้า ผู้ค้าส่ง-ค้าปลีก และผู้บริโภคชาวจีนเป็นจำนวนมาก

ปัจจุบันรัฐบาลจีนอนุญาตให้นำเข้าผลไม้ไทย จำนวน 23 ชนิด สำหรับผลไม้ที่ได้รับความนิยม ได้ แก่ ทุเรียน มังคุด ลำไย กล้วยไข่ ชมพู่ทับทิมจันทร์ มะม่วงน้ำดอกไม้ เงาะโรงเรียน ส้มโอ มะขามหวาน มะพร้าวน้ำหอม ส้ม เปลือกล่อน น้อยหน่า และแก้วมังกร นอกจากนั้นยังมีผลไม้แปรรูปหลายชนิดกำลังเป็นที่นิยมด้วย อาทิ ลำไยอบแห้ง ทุเรียนทอดกรอบ กล้วยอบกรอบ ขนุนและสับปะรดอบกรอบ เป็นต้น   

ประเทศไทยได้เปิดช่องทางขนส่งสินค้าผลไม้ไปจีนเส้นทางใหม่ คือ เส้นทาง R9 จากจังหวัดมุกดาหารผ่านลาว เวียดนาม เข้าสู่ด่านโหย่อี้กว่าน เมืองผิงเสียง มณฑลกวางสีของจีน ระยะทางรวมประมาณ 1,200 กิโลเมตร ซึ่งการลำเลียงสินค้าไปยังปลายทางจะใช้ระยะเวลาสั้น ประมาณ 2-3 วัน ทำให้ชาวจีนที่อยู่ห่างไกลมีโอกาสบริโภคผลไม้ไทยที่ยังสด ใหม่ รสชาติดี และคงคุณค่าทางโภชนาการที่สมบูรณ์เหมือนกับสินค้าที่คน ไทยได้บริโภค อนาคตคาดว่าการเปิดเส้นทาง R9 จะช่วยให้ไทยสามารถกระจายสินค้าผลไม้และสินค้าเกษตรอื่น ๆ ไปจีนได้เพิ่มขึ้น 20-30% หรือประมาณ 1,000-1,500 ล้านบาท

นางสาวเมทนี สุคนธรักษ์ ผอ.สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กล่าวเพิ่มเติมว่า การเยือนจีนครั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้หารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงควบคุมคุณภาพและตรวจสอบกักกันโรค (AQSIQ) แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน  โดยฝ่ายไทยขอให้ AQSIQ มั่นใจในสินค้าเกษตรและอาหารจากไทยโดยเฉพาะผลไม้

นอกจากนั้น AQSIQ ยังได้เสนอให้มีการทำความร่วมมือในการขนส่งสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นอีก 1 เส้นทาง คือ เส้นทาง R3 ที่เชื่อมระหว่างจังหวัดเชียงรายไปยังมณฑลยูนนานของจีน ซึ่งการขนส่งสินค้าผ่านเส้นทางนี้ จะทำให้เกิดการค้าสินค้าผักและผลไม้ระหว่างกันเพิ่มมากขึ้นและทั้ง 2 ฝ่ายยังได้หารือถึงแนวทางการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช พร้อมพิจารณาความก้าวหน้าเรื่องคงค้างระหว่างกัน

หลังเปิดเขตเสรีทางการค้าหรือ เอฟทีเอ (FTA) ระหว่างไทย-จีน ที่มีการปรับลดภาษีนำเข้าตามข้อตกลงเหลือร้อยละ 0 ส่งผลให้มีการขยายการค้าสินค้าผักและผลไม้เพิ่มขึ้น โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า และการเปิดใช้เส้นทาง R9 ขนส่งสินค้า ผลไม้ทางบกไปยังจีนจะเป็นช่องทางสำคัญที่ช่วยกระจายสินค้าผลไม้ไปจีนได้เพิ่มมากขึ้นและรวดเร็วด้วย โดยเฉพาะช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดกระจุกตัวมาก คาดว่าจะสามารถช่วยระบายสินค้าออกจากแหล่งผลิตและช่วยลดปัญหาสินค้าล้นตลาดได้.

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 22 กันยายน 2552
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=344&contentID=21582

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
  • มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
  • เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
  • อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
  • สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
  • โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
  • มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology