���͢��¢������Է�ҡ����ѧ����������Postharvest Technology Information NetworkPostharvest Technology�����ɵ���������Ҫԡ���͢������纺��촡���ɵ��ҹ�����ŧҹ�Ԩ��

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

แนะ "พด.7" ปราบเพลี้ย หมอดินเร่งขยายผลสู่ไร่มันทั่วปท.- ยันใช้คู่สมุนไพร 3 ชนิดอยู่หมัด

เมื่อวันที่ 21 กันยายน 52

แนะ "พด.7" ปราบเพลี้ย หมอดินเร่งขยายผลสู่ไร่มันทั่วปท.- ยันใช้คู่สมุนไพร 3 ชนิดอยู่หมัด

นายบัณฑิต ตันศิริ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า ปัญหาเพลี้ยแป้งระบาดในไร่มันสำปะหลังกำลังส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังจำนวนมาก เนื่องจากเพลี้ยแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้แม้กรมพัฒนาที่ดินจะผลิตนวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ "สารเร่ง พด.7" ที่ทดสอบประสิทธิภาพแล้วพบว่า สามารถนำมาเป็นหัวเชื้อหมักกับสมุนไพรไทย 3 ชนิด ประกอบด้วย ยาสูบ หนอนตายหยาก และพริก ได้ผลป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งได้เป็นอย่างดี แต่หากมีเพียงเกษตรกรรายหนึ่งรายใดใช้ขณะที่รายอื่นไม่ได้ใช้ ก็จะยังคงพบปัญหาการระบาดต่อไปไม่หยุด

ดังนั้นกรมฯจะเร่งถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพ สารเร่ง พด.7 ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังทั่วประเทศ เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกจะต้องแช่ท่อนพันธุ์ในน้ำหมักชีวภาพ พด.7 เพื่อป้องกันโรค จากนั้นจะต้องฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพ ซุปเปอร์ พด.2 เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน และช่วยให้รากขยายตัว สามารถไปหาน้ำและธาตุอาหารได้ไกลขึ้น พร้อมกันนี้ต้องใส่ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ที่โคนต้น เนื่องจาก พด.12 มีสารออกซิน ช่วยเพิ่มขนาดของหัวมันได้เป็น 2 เท่า นอกจากนี้จะส่งเสริมให้ปลูกถั่วพร้าระหว่างแถวเพื่อสับกลบเป็นปุ๋ยพืชสด ช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีได้ไม่ต่ำกว่า 50%

"วิธีการต่างๆ เหล่านี้นอกจากจะช่วยป้องกันเพลี้ยแป้งได้แล้ว ยังสามารถเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังจาก 2.5 ตัน/ไร่ เป็น 4.7 ตัน/ไร่ ในขณะที่ต้นทุนของเกษตรกรก็ยังลดลงจากการใช้ปุ๋ยเคมีลดลงด้วย ทั้งนี้กรมพัฒนาที่ดินตั้งเป้าจะขยายผลโครงการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังต่อไป อีก เพื่อรองรับความต้องการใช้พืชพลังงานในอนาคต โดยจะจัดโซนนิ่งปลูกมันสำปะหลัง เน้นวิธีการเพิ่มผลผลิต แต่ไม่ขยายพื้นที่ปลูก ซึ่งการเพิ่มผลผลิตให้ได้มากขึ้นอีก 30% ก็จะเพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ" นายบัณฑิต กล่าว

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 21 กันยายน 2552
http://www.naewna.com/news.asp?ID=179659

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
  • มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
  • เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
  • อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
  • สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
  • โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
  • มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology