͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

'ลุงสมาน' เลือกปลูกยางเพื่อชีวิตที่ดีกว่า

เมื่อวันที่ 16 กันยายน 52

'ลุงสมาน' เลือกปลูกยางเพื่อชีวิตที่ดีกว่า
"ลุงสมาน ผิวแก้ว” เป็นชาวบ้านโป่งขาม ต.ห้วยสัก อ.เมือง จ.เชียงราย ซึ่งนับตั้งแต่จำความได้จนวัยล่วงเลยมาถึงอายุ 49 ปี ลุงสมานและครอบครัวก็ประกอบอาชีพทำสวนทำไร่มาเกือบค่อนชีวิต และตลอดเส้นทางดังกล่าวชีวิตของลุงสมานก็ต้องล้มลุกคลุกคลานไปกับความไม่คงที่ของราคาพืชผลที่สู้อุตส่าห์ลงทุนลงแรงปลูก แต่กลับขายไม่ได้ราคาจนหนี้สินล้นพ้นตัว

“มันเหนื่อยนะกับการที่ต้องมาคอยแก้ปัญหาหนี้สินที่เกิดจากความไม่แน่นอนของราคาพืชไร่และข้าวที่ปลูกอยู่เกือบทุกปี” ลุงสมาน เล่าด้วยน้ำเสียงราบเรียบ แต่แฝงไปด้วยนัยให้คิดตามมาอย่างมากมาย เพราะสำหรับเกษตรกรที่ต้องพึ่งพาฟ้าฝน และขายผลผลิตได้เป็นฤดูกาล หรือเฉลี่ยปีละ 1-2 ครั้ง หากปีไหนราคาพืชผลขายได้ราคาก็ต้องถือว่าเป็นโชค แต่ปีไหนราคาตก นั่นก็เท่ากับว่า สิ่งที่ลงทุนลงแรงมาตลอดทั้งปี ต้องพบกับความสูญเปล่า หรือหากโชคร้ายกว่านั้น อาจยังต้องพกหนี้สินติดตัวไปจนกว่าจะขายผลผลิตได้ราคาในปีถัดไป

ขณะที่ทางออกซึ่งมีทางเลือกไม่กี่ทางของเกษตรกรที่ประสบปัญหาเดียวกัน ส่วนใหญ่มักจะลงเอยที่การหาอาชีพเสริม ตั้งแต่การรับจ้างทั่วไป การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์อื่น ๆ เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของรายได้  หรืออีกทางหนึ่งก็คือ การหาลู่ทางปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชผลชนิดอื่นที่คาดว่า จะสามารถสร้างรายได้ที่คุ้มค่าและมั่นคงกว่าที่เคยทำมา

“ผมเลือกปลูกยาง” ลุงสมาน เล่าทางออกของตัวเอง “พอดีมีชาวบ้านที่อยู่ในละแวกเดียวกัน เขาเริ่มปลูกยางมาแล้วหลายปีและเริ่มมีการกรีดยางขาย ซึ่งผมเห็นว่ามันได้ผลผลิตดีและมีรายได้ที่แน่นอน ผมก็เลยลองไปถาม ๆ ศึกษาข้อมูลดูก็รู้สึกว่ามันน่าสนใจดี”

ดังนั้นเมื่อปี 2547 ซึ่งรัฐบาลในขณะนั้น ประกาศโครงการสนับสนุนการปลูกยางในภาคเหนือ และอีสานจำนวน 1 ล้านไร่ จึงทำให้ลุงสมานไม่ลังเล และเป็นเกษตรกรรายแรก ๆ ที่เข้าไปขอร่วมโครงการดังกล่าว โดยได้รับการสนับสนุนกล้ายางสำหรับปลูกจำนวน 10 ไร่

ลุงสมาน ยังเล่าอีกว่า นอกจากจะเข้าร่วมโครงการยางล้านไร่ของรัฐบาลแล้ว ยังยอมควักเงินก้นถุงของครอบครัวติดต่อขอซื้อกล้ายางจากบริษัทที่เป็นผู้ผลิตกล้ายางให้กับเกษตรกรในโครงการยางล้านไร่มาเพื่อปลูกที่ดินของตัวเองอีก 5 ไร่ ด้วยความหวังอยู่ลึก ๆ ว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า สวนยาง 15 ไร่ที่ลงแรงปลูกเอาไว้ จะให้ผลตอบแทนกฟลับมาอย่างคุ้มค่า

“ถึงวันนี้ผมจะยังต้องรอไปถึงปี 2553 ถึงจะเริ่มเปิดกรีดยางได้ แต่ผมก็คิดว่า ผมตัดสินใจไม่ผิดที่หันมาปลูกยาง เพราะต้นยางในสวนของผมโตดี และไม่มีปัญหาเรื่องโรคหรือแมลงมารบกวน”

ลุงสมาน เล่าอีกว่า ด้วยความคาดหวังกับสวนยาง ทำให้นอกจากจะต้องดูแลรักษาสวนยางอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการซึ่งได้รับการอบรมจากเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้แล้ว ทุก ๆ วัน ลุงสมาน จะต้องลงไปในสวนยางคอย ตัดหญ้า พูดคุยกับต้นยาง เอาใจใส่เหมือนเป็นลูกหลาน เพราะเชื่อมาเสมอว่า การปลูกพืชจะให้ผลผลิตที่ดีได้ จะต้องใส่ใจดูแลและไม่ทิ้งขว้างแม้แต่วันเดียว

“นี่ผมส่งลูกชายให้ไปอบรมเรื่องการกรีดยางกับ สกย. (สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง) ไปรอไว้แล้วนะ” ลุงสมาน พูดขึ้นมาแบบขำขันแต่ก็จริงจัง “พอถึงเวลาเปิดกรีดได้เมื่อไร จะได้ไม่ต้องเดือดร้อนเรื่องหาคนกรีดยาง หรือต้องไปเสียค่าแรงจ้างคนมากรีด”

“แล้วถ้าโครงการนี้เริ่มกรีดได้เมื่อไรนะ จะต้องมีคนเสียดายแน่” ลุงสมาน ให้ความเห็นถึงโครงการยางล้านไร่ที่ตัวเองเข้าไปร่วมอย่างมั่นใจ เพราะหลังจากการหาข้อมูล รวมทั้งการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่และเจ้าของสวนยางจากภาคใต้ที่มาลงทุนซื้อที่ปลูกยางใน จ.เชียง ราย ต่างให้ความเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่า จ.เชียงราย มีความเหมาะสมกับการปลูกยางอยู่มาก ทำให้ต้นยางเจริญเติบโตดี

“ผมยังคิดไว้เลยว่า ถ้ากรีดยางขายได้สตางค์มาเมื่อไร อาจจะตัดสินใจมาปลูกยางเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นมรดกให้ลูกให้หลาน เพราะยางมีอายุเก็บเกี่ยวนาน 20-25 ปี พอถึงเวลาต้องโค่นสวนทิ้งก็ยังขายไม้ได้อีก ซึ่งมันก็น่าจะทำให้ชีวิตลูกหลานของผมดีขึ้น ไม่ต้องลำบากเหมือนกับที่ผมเคยเจอมาก่อน”

เรื่องราวของ “ลุงสมาน” อาจเป็นเพียงเสี้ยวเล็ก ๆ ในสังคมใหญ่ แต่เสี้ยวเล็ก ๆ ดังกล่าวก็สะท้อนให้เห็นถึงสภาพชีวิตของเกษตรกรจำนวนมาก ที่ยังคงใช้ชีวิตอยู่กับความหวังที่มีต่อพืชผลที่ตัวเองเพาะปลูก ซึ่งปัจจุบันแม้ “การปลูกยางพารา” จะไม่ได้ เป็นเพียง “ทางเลือก” เดียวของเกษตรกรไทย อย่างน้อยโครงการนำร่องปลูกยางใหม่ในภาคเหนือและอีสานตั้งแต่ปี 2532 เป็นต้นมา ทำให้เห็นเค้าลางความสำเร็จที่รออยู่ข้างหน้า ซึ่งจะจริงหรือไม่ ต้องคอยดูกันต่อไป.

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 16 กันยายน 2552
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=347&contentID=20434

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
  • มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
  • เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
  • อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
  • สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
  • โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
  • มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology