͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

แปลงเรียนรู้ 'ปาล์มน้ำมัน' ต้นแบบหนึ่งโรงเรียนเพื่อเกษตรกรมืออาชีพ

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 52

แปลงเรียนรู้ 'ปาล์มน้ำมัน' ต้นแบบหนึ่งโรงเรียนเพื่อเกษตรกรมืออาชีพ ปาล์มน้ำมัน
"ปาล์มน้ำมัน” เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทยที่มีศักยภาพสูง ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีเนื้อที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตประมาณ 3,195,140 ไร่ ในปี 2552 นี้ คาดการณ์ว่าจะได้ผลผลิตไม่น้อยกว่า 9.43 ล้านตัน แต่เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และประสบการณ์ที่ถูกต้อง และเหมาะสมเกี่ยวกับการผลิตปาล์มน้ำมัน โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยและรายใหม่ ทำให้ได้ผลผลิตต่อไร่ต่ำขณะที่มีต้นทุนสูงขึ้น ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดกระบี่ (พืชสวน) กรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้จัดตั้ง “แปลงเรียนรู้ปาล์มน้ำมัน” ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้สำหรับเกษตรกรที่สนใจ ซึ่งจะช่วยเพิ่มพูนทักษะและพัฒนาอาชีพเพื่อยกระดับการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกรให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

นายอรรถ อินทลักษณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า โรงเรียนปาล์มน้ำมันเพื่อเกษตรกรนี้ มีการจัดกิจกรรม 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่ การฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับปาล์มน้ำมันให้กับเกษตรกร การศึกษาทดสอบ/วิจัยภาคการผลิตของเกษตรกร การจัดนิทรรศการวิชาการปาล์มน้ำมัน และการจัดทำแปลงเรียนรู้ปาล์มน้ำมัน โดยปี 2551 ที่ผ่านมา ได้จัดฝึกอบรมหลักสูตรการผลิตปาล์มน้ำมันแก่เกษตรกรราย ใหม่ จำนวน 171 ราย ขณะเดียวกันยังได้ฝึกอบรมหลักสูตรการใช้ปุ๋ยในสวนปาล์มน้ำมัน ให้เกษตรกร 505 รายด้วย และปี 2552   นี้ ได้จัดฝึกอบรมหลัก สูตร “การผลิตปาล์มน้ำมันแบบยั่งยืน” ให้แก่เกษตรกรและยุวเกษตรกร ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ไปแล้ว 8 รุ่น รวมกว่า 1,155 ราย ซึ่งในระยะยาวคาดว่าเกษตรกรจะสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ใน การพัฒนาการผลิตในแปลงของตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมขยายผลไปสู่เกษตรกรข้างเคียงด้วย

การถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมแก่เกษตรกรเน้นตั้งแต่การ เลือกใช้ปาล์มน้ำมันพันธุ์ดี ให้ผลผลิตสูง 3-5 ตันต่อไร่ต่อปี และมีความเหมาะสมกับแหล่ง ปลูกอีกทั้งยังมุ่งเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ด้านวิธีการปลูกปาล์มน้ำมัน การดูแลรักษา การบริหารจัดการแปลง ตลอดจนการเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อเป็นแนวทางช่วยในการปรับลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง  โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายเรื่องปุ๋ยเคมีซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ต้นทุนของเกษตรกรสูงขึ้นมากราว 50-60% หากประหยัดค่าปุ๋ยเคมีได้จะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น

“แปลงเรียนรู้ปาล์มน้ำมันเป็นช่องทางที่ช่วยสร้างโอกาสให้เกษตรกรที่มีความสนใจที่จะพัฒนาระบบการผลิตปาล์มน้ำมันให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น อนาคตคาดว่าจะช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมันของ จังหวัดกระบี่ได้ค่อนข้างมาก โดยจะช่วยเสริมฐานการผลิตปาล์มน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในประเทศสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และก้าวสู่การเป็นฐานผลิตไบโอดีเซลของประเทศเพื่อเป็น ออยล์ ปาล์ม ซิตี้ ซึ่งจะทำให้ภาคการผลิตปาล์มน้ำมันของไทยเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น” อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าว

ฐิติมา เจียมสวัสดิ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดกระบี่ (พืชสวน)  กล่าวเพิ่มเติมว่า การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันเป็นเรื่องที่เกษตรกรต้องให้ความสำคัญและเอาใจใส่ เนื่องจากการผลิตทะลายปาล์มน้ำหนัก 1,000 กิโลกรัม ที่เก็บเกี่ยวออกไป มีปริมาณธาตุอาหารเทียบได้กับปุ๋ยสูตร 21-0-0 ประมาณ 17 กิโลกรัม  สูตร 0-46-0 ประมาณ 3  กิโลกรัม สูตร 0-0-60 ประมาณ 12 กิโลกรัม และคีเซอร์ไรท์ ประมาณ 15 กิโลกรัม เป็นต้น ดังนั้น จึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเพื่อทดแทนในปริมาณที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของพืช จึงจะได้ผลตอบแทนคุ้มค่าการลงทุน 

เทคนิคการใส่ปุ๋ยต้องเป็นไปตามความต้องการของต้นพืช โดยทุกรอบการผลิตเกษตรกรควรเก็บตัวอย่างดินในแปลงปลูกและใบปาล์มน้ำมันส่งตรวจวิเคราะห์ เพื่อจะได้เลือกใช้ปุ๋ยอย่างถูกต้องและใส่ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสมตรงตามความต้องการของต้นปาล์ม ซึ่งจะช่วยปรับลดความสิ้นเปลืองค่าปุ๋ยเคมีลงได้

นอกจากนี้ยังแนะนำให้เกษตรกรใช้ระบบการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ การอนุรักษ์ดินในสวนปาล์มน้ำมันด้วยการปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว การตัดขั้นบันไดและคันดัก น้ำร่วมกับพืชคลุมดิน การควบคุมหนอนกินใบโดยวิธีธรรมชาติ การควบคุมหนูในสวนปาล์มน้ำมันด้วยนกแสก ทั้งยังแนะนำให้ใช้ประโยชน์ของเสียจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม เช่น ใช้ ทะลายเปล่าวางเป็นวงแหวนทับกันสามชั้นรอบโคนต้นปาล์มพอประมาณ อัตรา 250 กิโลกรัมต่อต้น หรือ 3-4 รถเข็น จะช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยโพแทสเซียมได้ทั้งหมด และช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนได้ครึ่งหนึ่ง ช่วยประหยัดค่าปุ๋ยเคมีได้ไม่น้อยกว่า 700 บาทต่อไร่ ขณะเดียวกันยังช่วยเพิ่มผลผลิตขึ้นอีก 0.5-1 ตันต่อไร่ต่อปี

อย่างไรก็ตาม หากสนใจที่จะเข้าศึกษาเรียนรู้ในแปลงเรียนรู้ปาล์มน้ำมัน สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดกระบี่ (พืชสวน) โทร. 0-7561-2913.

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 14 กันยายน 2552
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=344&contentID=19990

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
  • มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
  • เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
  • อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
  • สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
  • โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
  • มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology