͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

ขึ้นทะเบียนเกษตรกรปัญหาอื้อ สศช.บี้จนท.ล่าช้า-ชาวนาสับสน ครม.ขีดเส้นต้องเสร็จก่อน 15 ก.ย.

เมื่อวันที่ 9 กันยายน 52

ขึ้นทะเบียนเกษตรกรปัญหาอื้อ สศช.บี้จนท.ล่าช้า-ชาวนาสับสน ครม.ขีดเส้นต้องเสร็จก่อน 15 ก.ย.

เลขาฯ สศช.รายงานผลขึ้นทะเบียนเกษตรกรโครงการประกันราคาข้าวพบปัญหาเพียบ หน่วยงานรัฐขาดแนวทางชัดเจน ฉุดงานล่าช้า ขณะที่ชาวนายังสับสนกับโครงการรับจำนำ วิตกเกษตรกรแจ้งพื้นที่เกินจริงเสนอใช้ภาพถ่ายดาวเทียมช่วยป้องกัน ครม.ลั่นดำเนินการให้แล้วเสร็จใน 15 ก.ย.

นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 8 กันยายน ว่านายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานการดำเนินงานโครงการประกันราคาพืชผลทางการเกษตร ได้รายงานความคืบหน้าโครงการให้ที่ประชุมรับทราบการลงพื้นที่ติดตามการขึ้นทะเบียนเกษตรและทะเบียนการปลูกพืชเศรษฐกิจ รวมทั้งการทำประชาคม พบว่ากระบวนการทำงานของหน่วยงานราชการมีความล่าช้าและไม่มีแนวทางที่ชัดเจน และด้วยระยะเวลาที่จำกัด อาจส่งผลต่อความถูกต้องของข้อมูล

นอกจากนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่า การประกันจะต้องส่งมอบผลผลิตเช่นเดียวกับโครงการรับจำนำ และยังสับสนระหว่างการใช้ราคาอ้างอิงกับราคาที่ซื้อขายในตลาดที่จะนำไปคิดค่าชดเชยส่วนต่างจากราคาประกัน อย่างไรก็ตาม ที่ประชุม ครม.ได้เร่งรัดให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขึ้นทะเบียนเกษตรกรให้เสร็จก่อนวัน ที่ 15 กันยายนนี้ เพื่อเร่งทำสัญญาประกันราคาสินค้าเกษตรกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

นายวัชระกล่าวว่า สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหา คณะกรรมการเห็นว่า ควรมอบหมายให้กระทรวงเกษตรฯเร่งรัดเสนอคณะกรรมการนโยบายสินค้าเกษตร เพื่อให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการกำหนดแนวทางการรับรองเอกสารสิทธิในที่ดินทำกินของเกษตรกร และเกณฑ์ผลผลิตเฉลี่ยระดับจังหวัด และแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบภายในวันที่ 11 กันยายน 2552 ส่วนคณะกรรมการเพื่อการแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด ที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทย ควรมีการแต่งตั้งคณะทำงานระดับอำเภอและตำบลเข้ามาช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงาน ขณะเดียวกัน ธ.ก.ส.ต้องเร่งประชาสัมพันธ์แนวทางการดำเนินงานโครงการให้เกษตรกรรับทราบอย่างชัดเจน

นอกจากนี้ ยังเห็นสมควรมอบหมายให้กระทรวงเกษตรฯและ ธ.ก.ส. ใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมตรวจสอบพื้นที่ระดับตำบล เพราะคาดว่าอาจมีการรายงานจำนวนพื้นที่ในทะเบียนมากกว่าพื้นที่จริง และแจ้งให้คณะกรรมการระดับจังหวัด ตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง

นาย วัชระกล่าวว่า ที่ประชุมยังเห็นชอบตามข้อเสนอกระทรวงพาณิชย์ ให้เพิ่มโควต้าการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังแก่จังหวัดพิจิตร อีก 101,580 ตัน และจังหวัดสุโขทัย 34,111 ตัน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร หลังจากปริมาณผลผลิตข้าวในเดือนกันยายนออกมามากเกินกว่าโควต้าเดิม และเป็นการดำเนินการตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 1 กันยายน ให้ขยายระยะเวลาโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552 ออกไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2552

นายวัชระกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม การเพิ่มโควต้าการรับจำนำดังกล่าว ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าจะต้องเป็นเกษตรกรที่ได้ขึ้นทะเบียนและได้รับ หนังสือรับรองผู้ปลูกข้าวนาปรัง ปี 2552 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2552 และต้องไม่เคยใช้สิทธิในการเข้าร่วมโครงการมาก่อน นอกจากนี้ ปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำเพิ่มจะต้องไม่เกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ 6 ล้านตันข้าวเปลือก

ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 9 กันยายน 2552
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01eco01090952§ionid=0103&day=2009-09-09

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
  • มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
  • เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
  • อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
  • สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
  • โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
  • มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology