͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

ยางพารา พืชเศรษฐกิจ โอกาสอยู่แค่เอื้อม

เมื่อวันที่ 8 กันยายน 52

ยางพารา พืชเศรษฐกิจ โอกาสอยู่แค่เอื้อม ยางพารา
ความต้องการใช้ยางเทียมในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ดูจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ทั้งจากอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมแปรรูปต่าง ๆ เมื่อเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ดีขึ้น โดยเฉพาะสาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย รัสเซีย สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ฉะนั้น ราคายางพาราไทยก็มีโอกาสที่จะสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน ที่คาดกันว่าจะขึ้นเป็นประมาณ 70-80 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ในปลายปี 2552  ซึ่งจะมีความต้องการเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์

นับเป็นทิศทางที่ส่งผลดีต่อเกษตรกรไทยที่ปลูกยางพารา แม้ว่าในเวลานี้ สถานการณ์ราคายางพาราจะยังไม่มีความแน่นอน แต่ราคาก็ยังมีโอกาสปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ที่สำคัญ ประเทศไทยยังเป็นประเทศผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่อันดับ 1 ของโลก จากแนวโน้มดังกล่าวทำให้มองเห็นถึงโอกาสด้านการผลิตของไทยเพื่อตอบสนองความต้องการใช้ยางพาราในตลาดโลก

หากเปรียบเทียบผลผลิตกับปริมาณความต้องการใช้ในตลาดโลก นับว่าประเทศไทยยังมีโอกาสอีกมาก ซึ่ง รศ.สมพร อิศวิลานนท์ อาจารย์ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บอกว่า ประเทศไทยควรมีการวางแผนทั้งด้านการผลิตและการตลาด เพื่อผลักดันการสร้างโอกาสให้กับประเทศตั้งแต่ ในส่วนของ “ต้นน้ำ” ด้วยการขยายฐานการผลิตในภาคเหนือและอีสาน รวมทั้งสนับสนุนเทคโนโลยีการเพาะปลูก เพื่อเน้นประสิทธิภาพการผลิต นั่นคือ ทำให้มีผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น ซึ่งจะหมายถึงการมีต้นทุนต่อไร่ที่ลดลง

อย่างไรก็ดี ในส่วน “กลางน้ำ” และ ไป  “ปลายน้ำ” ก็จำเป็นต้องมีการพัฒนาเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการแปรรูปเป็นวัตถุดิบเบื้องต้นสำหรับนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์ เนื่องจากว่า โรงงานอุตสาหกรรมที่มีอยู่ แม้จะมีเครื่องจักร แต่ก็ยังขาดประสิทธิภาพ ที่สำคัญ ไม่ค่อยพัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูป ทำให้ผลผลิตยางดิบของไทยยังต้องพึ่งพาตลาดสิงคโปร์และมาเลเซีย เพื่อระบายผลผลิต

สุดท้าย คือ การพัฒนา “ตลาดกลาง และ ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า” ซึ่งเป็นตัวเชื่อมโยงสู่ตลาดโลก โดยจะต้องมีการพัฒนาระบบทั้งสองนี้อย่างจริงจัง เพื่อให้เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้ราคาไม่ผันผวน พร้อมกับยกระดับสู่การเป็นศูนย์กลางตลาดโลก

สำหรับการสำรวจโครงการยางล้านไร่ ที่มีการดำเนินการปี 2547-2549 พบว่า การปลูกยางในภาคเหนือและอีสานมีต้นทุนใกล้เคียงกับการปลูกในภาคใต้ ซึ่งหากสามารถรักษาระดับราคายาง ให้อยู่ที่กิโลกรัมละ 50-60 บาทอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็จะส่ง ผลให้เกษตรกรสามารถอยู่ได้ เพราะเมื่อเทียบกับอาชีพเดิมของเกษตรกร ถือว่า มีความคุ้มค่ากว่ากันมาก เช่น การปลูกข้าวเกษตรกรจะมีรายได้ต่อ 1 ฤดูกาลเพาะปลูก แต่การปลูกยางเกษตรกรจะมีรายได้จากการกรีดยางเป็นรายสัปดาห์ ตลอดเกือบทั้งปี

ในพื้นที่ จ.ยโสธร หนึ่งในพื้นที่ที่มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการยางล้านไร่ มีพื้นที่ปลูกรวม 12,134 ไร่ ใน 7 อำเภอได้แก่ อ.กุดชุม อ.ทรายมูล อ.ไทยเจริญ อ.ป่าติ้ว อ.เมือง อ.เลิงนกทา และ อ.คำเขื่อนแก้ว ได้ประเมินผลความคืบหน้าของโครงการ โดย นายสมคิด พัฒนไทยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) จ.ยโสธร เล่าให้ฟังว่า ต้นยางร้อยละ 90 มีการเจริญเติบโตดีได้มาตรฐาน มีเพียงร้อยละ 5-10 ที่โตไม่สม่ำเสมอนั้นถือเป็นเรื่องปกติที่เกษตรกรยอมรับได้ 

“หลายฝ่ายเคยตั้งข้อสงสัยว่าดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเหมาะที่จะปลูกยางหรือไม่ เพราะเป็นดินร่วนปนทราย และส่วนใหญ่จะมีปัญหาการขาดความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างมาก แต่การเติบโตที่ได้มาตรฐานของต้นยางกว่าร้อย ละ 90 ในโครงการยางล้านไร่น่าจะเป็นสิ่งยืนยันได้ว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถปลูกยางได้ นอกจากนี้ เมื่อถึงระยะเปิดกรีดภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังมีความได้เปรียบเรื่องสภาพอากาศที่ไม่มีปัญหาฝนตกชุกเหมือนภาคใต้ ทำให้มีจำนวนวันกรีดมากกว่า 120-150 วันต่อปี อีกทั้งยังใช้แรงงานในครัวเรือนเป็นหลักจึงทำให้มีต้นทุนที่ต่ำกว่าเกษตรกรผู้ปลูกทางภาคใต้ด้วย” นายสมคิดกล่าว

ภาครัฐจึงควรให้ความสำคัญกับการลงทุนอุตสาหกรรมยางอย่างจริงจัง ไม่เช่นนั้น ประเทศไทยคงขายได้แต่เพียงยางแท่งและยางแผ่น ซึ่งแน่นอนว่า ต้องสูญเสียส่วนต่างมูลค่าเพิ่มไปอย่างน่าเสียดาย พร้อมกันนี้ ก็ควรทบทวนการสนับสนุนการใช้ยางพาราภายในประเทศอย่างเป็นรูปธรรมด้วย เช่น การใช้ยางพาราผสมยางมะตอยทำถนน การทำฝายยาง การใช้ยางรองคอสะพานกันแผ่นดินไหว 

ที่สำคัญ...เกษตรกรชาวสวนยาง ก็จะมีอาชีพที่มั่นคงและยั่งยืน.

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 8 กันยายน 2552
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=339&contentID=18878

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
  • มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
  • เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
  • อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
  • สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
  • โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
  • มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology