͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

ญี่ปุ่นหนุนไทยพัฒนาพลาสติกชีวภาพ 2 ชาติจับมือมือผลักดันการวิจัย สนช.ตั้งเป้า 5 ปีเป็นผู้นำภูมิภาค

เมื่อวันที่ 8 กันยายน 52

ญี่ปุ่นหนุนไทยพัฒนาพลาสติกชีวภาพ 2 ชาติจับมือมือผลักดันการวิจัย สนช.ตั้งเป้า 5 ปีเป็นผู้นำภูมิภาค

ดร.ศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) เผยว่า สนช. ร่วมกับสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง หรือ AIST ประเทศญี่ปุ่นจัดงานสัมมนาพลาสติกชีวภาพและวัสดุชีวภาพไทย-ญี่ปุ่น "The First Thai-Japan Bioplastics and Biobased Materials Symposium" มุ่งนำเสนอผลงานวิจัยด้านพลาสติกชีวภาพ โดยเน้นด้านวัสดุชีวภาพและพลาสติกแตกสลายได้ทางชีวภาพ เพื่อให้เห็นแนวโน้มของการวิจัยและพัฒนาด้านพลาสติกชีวภาพในประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทย และก่อให้เกิดความร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านเทคโนโลยีพลาสติกชีวภาพระหว่างนักวิจัยไทย และญี่ปุ่น ซึ่งจะช่วยเร่งการสร้างเทคโนโลยีพลาสติกชีวภาพ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านเทคโนโลยีพลาสติกชีวภาพ ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวให้เป็นไปตามแผนที่ได้รับเป็นเจ้าภาพจัดทำแผนที่นำทาง แห่งชาติอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ พ.ศ. 2551-2555 เพื่อเป็นอุตสาหกรรมเพื่ออนาคต (New Wave Industries) ของประเทศไทย เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพของประเทศ ให้มีความแข็งแกร่งและมีความพร้อมด้านศักยภาพที่จะเป็นผู้นำในภูมิภาคได้ใน อีก 5 ปีข้างหน้า

ด้าน ดร.เซอิชิ ไอบะ (Dr. Seiichi Aiba) นักวิจัยจาก AIST กล่าวว่า กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม (Ministry of Economy, Trade and Industry, METI) ประเทศญี่ปุ่น ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยี ปี 2553 สำหรับแผนที่นำทางการวางแผนและการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาครอบคลุมใน 30 สาขา โดยมีเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตพลาสติกชีวภาพและวัสดุชีวภาพอยู่หนึ่งในสาขาด้วย ได้แก่ การพัฒนาพลาสติกชีวภาพชนิดพอลิแล็กติกแอซิด (polylactic acid, PLA) ให้มีคุณสมบัติสูงขึ้น เช่น เส้นใยที่ทนความร้อนได้สูงขึ้น ด้วยการพัฒนาสเตอริโอคอมเพล็กซ์ และการเพิ่มคุณสมบัติพิเศษลงในเส้นใย การพัฒนาวัสดุชีวภาพจากกระบวนการทางชีวเคมี และการขึ้นรูปเส้นใย

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 8 กันยายน 2552
http://www.naewna.com/news.asp?ID=177824

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
  • มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
  • เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
  • อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
  • สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
  • โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
  • มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology