͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

เตาเผาแกลบแบบไซโคลน ลดความชื้นเมล็ดพืช

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 52

เตาเผาแกลบแบบไซโคลน ลดความชื้นเมล็ดพืช เตาเผาแกลบ ลดความชื้น
การลดความชื้นเมล็ดพืช
โดยทั่วไปจะใช้ลมร้อนเป่าผ่านเมล็ดพืช ทำให้เมล็ดพืชคายไอน้ำและพัดพาไอน้ำออกจากกองเมล็ดพืช การใช้แกลบหรือซังข้าวโพดเป็นเชื้อเพลิงกำเนิดลมร้อนแทนน้ำมันดีเซลหรือ น้ำมันเตา จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 แต่โดยทั่วไปการทำงานค่อนข้างยุ่งยาก และไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิลมร้อนได้อย่างสม่ำเสมอ

สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร จึงได้ทำการศึกษาและออกแบบสร้างเตาเผาแบบไซโคลนเพื่อให้สามารถใช้งานได้สะดวก โดยพัฒนาเตาเผาแกลบที่ใช้เป็นแหล่งกำเนิดลมร้อนของเครื่องลดความชื้นเมล็ดพืชที่มีประสิทธิภาพสูง เพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้และลดแรงงานในการควบคุมและป้อนแกลบเข้าเตา

นายวิบูลย์ เทเพนทร์ วิศวกรการเกษตรชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มวิจัยวิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยว อธิบายว่า เหตุที่ต้องทำเป็นเตาเผาแกลบแบบไซโคลน เนื่องจากเตาเชื้อเพลิงชีว มวลแบบเดิมหรือเตาเผาแกลบที่ใช้กันอยู่ตามโรงสีโดยทั่วไป จะเกิดฝุ่นละอองขึ้นมาจำนวนมาก ต้องมีคนคอยตักหรือโกยเถ้าแกลบออกตลอดเวลา ซึ่งเป็นงานค่อนข้างหนัก ส่วนเตาเผาแกลบแบบไซโคลนที่พัฒนาขึ้นมานี้ เป็นเตาที่ป้อนเชื้อเพลิงอัตโนมัติ ใช้ลมป้อนเข้าไปโดยไม่ต้องใช้คนคุม  มีการตั้งอุณหภูมิไว้ เครื่องจะป้อนเชื้อเพลิงตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้ เช่น ตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 80 องศาเซลเซียส เมื่ออุณหภูมิถึง 80 องศาเครื่องก็จะตัดการจ่ายเชื้อเพลิง แต่อุณหภูมิจะคงที่ไว้ที่ 80 องศา ขณะที่อุณหภูมิเริ่มลดลง เชื้อเพลิงจะถูกป้อนเข้าไปใหม่ ก็จะได้อุณหภูมิลมร้อนตามที่เราต้องการ เตาเผาแกลบแบบไซโคลนที่พัฒนาขึ้นมานี้ประกอบด้วย

ตัวเตาเผา ที่ส่วนบนเป็นรูปทรงกระบอกแนวตั้งและทรงกรวยตัดที่ส่วนล่างของเตา ตัวเตามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอก 1.20 เมตร ผนังด้านในของเตาบุด้วยฉนวนกันความร้อนเป็นอิฐทนไฟหนาประมาณ 11.5 เซนติเมตร มีเส้น ผ่าศูนย์กลางภายในตัวเตา 0.97 เมตร ความสูงของเตาเผา 2.40 เมตร ปริมาตรห้องเผาไหม้ 1.15 ลูกบาศก์เมตร ภายในตัวเตาบุด้วยฉนวนเป็นอิฐทนไฟเพื่อลดการสูญเสียความร้อนจากผนังเตาสู่ อากาศรอบ ๆ ส่วนที่เป็นไซโคลนจะเป็นตัวดักฝุ่นไม่ให้ฟุ้งกระจายไปในอากาศ

ชุดแลกเปลี่ยนลมร้อน จะมีท่อปล่อยลมร้อนเข้าไปใช้กับเครื่องลดความชื้นผลิตผลเกษตร ได้แก่ เครื่องอบข้าวเปลือก ข้าวโพด  หรือเครื่องลดความชื้นลำไยแบบกระบะ ซึ่งสามารถเดินท่อเข้าไปจ่ายแทนก๊าซหุงต้มเดิม หรือน้ำมันโซล่าที่เราเรียกว่าน้ำมันเตา ชุดแลกเปลี่ยน ลมร้อนจะทำให้ลมร้อนที่ได้สะอาดปราศจากฝุ่นละอองเถ้า ควันไฟ ซึ่งจะออกไปทางปล่อง ข้างบน ลมร้อนที่สะอาดจะสามารถใช้ลดความชื้นผลิตผลเกษตรได้


นายวิบูลย์ เล่าว่า เราพัฒนามาตั้งแต่ปี 2540 โดยพัฒนามาจากเตาเผาแบบไซโคลนที่ใช้แกลบให้ความร้อนทางตรง ต่อจากนั้นก็ได้พัฒนา แบบมีชุดแลกเปลี่ยนลมร้อนขนาดเล็ก ขนาดให้ความร้อน 300 กิโลวัตต์ เผาแกลบประมาณ 100 กก.ต่อชั่วโมง ความร้อนที่ได้จะใช้กับเครื่องอบขนาดเล็ก ต่อมาได้เพิ่มขนาดขึ้นไปอีก จนในปัจจุบันมีภาคเอกชนนำไปผลิตขนาดใหญ่ขึ้นให้ความร้อนถึง 9,000 กิโลวัตต์ เผาไหม้แกลบได้ประมาณ 2 ตันต่อชั่วโมง ความร้อนขนาดนี้จะใช้กับเครื่องลดความชื้นเมล็ดพืชที่มีกำลังผลิตถึง 400 ตันต่อวัน ส่วนใหญ่ที่ใช้กันแพร่หลายจะใช้ลดความชื้นเมล็ดพืช ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด เป็นหลัก  นอกนั้นก็เป็น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว สำหรับลำไยยังไม่มีการนำไปใช้

กลุ่มวิจัยเกษตรวิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยว ได้นำเครื่องต้นแบบเตาเผาแกลบแบบไซโคลนออกเผยแพร่ระหว่างปี 2540-2543 มีเอกชนได้นำไปผลิตและปรับปรุงเรื่อยมา จนสามารถใช้ชีวมวลได้หลายแบบ กลุ่มเกษตรกร  ที่มีเครื่องลดความชื้นอยู่แล้ว ถ้าคำนวณค่าใช้จ่ายในการลดความชื้นผลิตผลเกษตร ในปัจจุบันเครื่องอบที่ใช้น้ำมันโซล่าราคาลิตรละประมาณไม่ต่ำกว่า 27 บาท หากเปลี่ยนมาใช้แกลบจะใช้เพียง 2 กก. แทนน้ำมัน 1 ลิตร ราคาแกลบประมาณ 80 สตางค์ ค่าใช้จ่ายจะลดลงไปประมาณครึ่งหนึ่งของน้ำมันโซล่า หากแกลบมีราคาแพงก็หันไปใช้ซังข้าวโพดหรือเหง้ามันสำปะหลังที่มีอยู่ในท้อง ถิ่น

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มวิจัยวิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยว สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ 0-2529-0663 โทรสาร 0-2529-0664.

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 7 กันยายน 2552
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=339&contentID=18637

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
  • มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
  • เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
  • อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
  • สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
  • โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
  • มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology