͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

อัดฉีด 2.7 พันล้านฟื้นวิกฤติใต้ กระตุ้นลงทุน-ฟื้นอาชีพเกษตรกร ตั้งเป้ารายได้ครัวเรือน 1.2 แสน/ปี

เมื่อวันที่ 4 กันยายน 52

อัดฉีด 2.7 พันล้านฟื้นวิกฤติใต้ กระตุ้นลงทุน-ฟื้นอาชีพเกษตรกร ตั้งเป้ารายได้ครัวเรือน 1.2 แสน/ปี

นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เผยว่า ในปีงบประมาณ 2553 กระทรวงเกษตรฯ ได้รับการจัดสรรงบประมาณตามแผนการพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 2,521,052,960 บาท แบ่งเป็นงบปกติ 513,469,200 บาท และ งบประมาณตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 (แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2) 2,007,583,760 บาท เพื่อเร่งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจความเป็นอยู่ของประชาชนและเกษตรกรในพื้นที่ ได้แก่ จ.ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และสงขลา

โดยจะดำเนินงานใน 2 แผนหลัก คือ 1.แผนการยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตประชาชนในหมู่บ้านและ 2.แผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการลงทุน โดยเน้นการจัดทำโครงการที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่และความต้องการของประชาชน มีหมู่บ้านเป้าหมายซึ่งเป็นหมู่บ้านยากจนเป็นหลัก ก่อนขยายสู่หมู่บ้านที่เหลือให้ครบทุกหมู่บ้านในระยะเวลา 3 ปี เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ยกระดับรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยจาก 64,000 บาท/ปี เป็นไม่ต่ำกว่า 120,000 บาท/ปี

สำหรับโครงการที่กระทรวงเกษตรฯให้ความสำคัญในการพัฒนาอาชีพหลักในพื้นที่ ได้แก่ การส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมัน การฟื้นฟูพื้นที่นาข้าวร้าง การส่งเสริมการปลูกยางพันธุ์ดี การส่งเสริมการเลี้ยงแพะเชิงพาณิชย์สู่อุตสาหกรรมฮาลาล การทำการประมง และการสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล การก่อสร้างระบบชลประทาน เพื่อเพิ่มพื้นที่ชลประทาน รวมถึงการพัฒนาระบบการผลิตและการตลาดของผลไม้ภาคใต้ โดยกระทรวงเกษตรฯได้ดำเนินการใน 3 มาตรการหลัก ได้แก่ 1.บริหารจัดการคุณภาพผลผลิต 2.กระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิต 3.ส่งเสริมการตลาดและบริโภคผลไม้ ซึ่งผลการดำเนินงานในภาพรวมขณะนี้ ทำให้แนวโน้มสถานการณ์ผลไม้ภาคใต้มีราคาเริ่มสูงขึ้น เช่น ทุเรียน และลองกอง เป็นต้น ซึ่งจะมีการนำผลไม้และสินค้าเกษตรภาคใต้มาจัดแสดงและจำหน่ายในงาน "ของดีชายแดนภาคใต้" ระหว่างวันที่ 10-13 กันยายน ที่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ด้วยเช่นกัน

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 4 กันยายน 2552
http://www.naewna.com/news.asp?ID=177289

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
  • มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
  • เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
  • อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
  • สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
  • โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
  • มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology