͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

ปี 2555 ไทยแหล่งผลิตปลานิลชั้นนำของโลก

เมื่อวันที่ 3 กันยายน 52

ปี 2555 ไทยแหล่งผลิตปลานิลชั้นนำของโลก ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า กรมประมงจัดงานสัมมนา “ร่างยุทธศาสตร์ การพัฒนาปลานิลและแผนปฎิบัติงานโครงการยกระดับมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงปลานิลเพื่อการส่งออก ตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2552 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ เพื่อชี้แจงร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาปลานิล และแผนปฏิบัติงานโครงการยกระดับมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงปลานิลเพื่อการส่งออก พร้อมทั้งทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่กรมประมง ผู้แทนเกษตรกร ชมรม สมาคมผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและผู้ประกอบการโรงงานแปรรูป ให้รับทราบถึงวิธีปฏิบัติงานให้สอดรับกับโครงการดังกล่าว เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะทำให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องตลอดสายการผลิตสามารถนำไปกำหนดวิธี บริหารจัดการรวมทั้งกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในการพัฒนาปลานิลของไทยให้ได้มาตรฐานสากล โดยโครงการดังกล่าว กรมประมงได้รับการจัดสรรงบประมาณภายใต้แผนปฏิบัติการ ไทยเข้มแข็ง 2555 จำนวนทั้งสิ้น 379 ล้านบาท มีระยะดำเนินการ 3 ปี คือตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2553-2555

นอกจากนี้แล้ว กรมประมงได้ลงนามบันทึกความตกลงในการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันกับบริษัทห้องปฏิบัติกลาง (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อให้บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพปลานิลจากฟาร์มเพาะเลี้ยงปลานิลเชิงพาณิชย์ที่ต้องการพัฒนาเข้าสู่มาตรฐาน ระบบการผลิตที่ถูกต้องในฟาร์ม โดยพิจารณาตั้งแต่พื้นที่การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว และการจัดการหลังเก็บเกี่ยว และร่วมกับบริษัท กสท. โทรคมนาคม (มหาชน) ในการพัฒนาระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมประมง เพื่อที่จะผลักดันอุตสาหกรรมปลานิลไทยให้ก้าวสู่ชั้นแนวหน้า และสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ก็ได้ทำความตกลงร่วมกับกลุ่มเกษตรผู้เพาะเลี้ยงปลานิลด้วยเช่นกัน

ทางด้าน ดร.จิราวรรณ แย้มประยูร รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า การดำเนินโครงการยกระดับมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงปลานิลเพื่อการส่งออก ตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 เป็นยุทธศาสตร์ใหม่ที่ได้สานต่อความสำเร็จจากโครงการที่แล้ว โดยจะมีแนวทางการดำเนินงานในเชิงรุกมากยิ่งขึ้น

“ดังนั้น หากผู้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ สามารถเข้าใจในความรู้ที่เราได้ถ่ายทอดและนำไปประยุกต์ใช้ เชื่อว่าสินค้าปลานิลของไทยจะได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของประเทศผู้นำเข้า ซึ่งจะส่งผลเชิงบวก ในด้านการส่งออก อีกทั้งเกษตรกรให้ความใส่ใจและเห็นประโยชน์ของ การจัดทำระบบการผลิตที่ถูกต้องในฟาร์ม โดยพิจารณาตั้งแต่พื้นที่การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว และการจัดการหลังเก็บเกี่ยว ย่อมเกิดผลดีต่อสุขภาพของผู้บริโภคอีกด้วย ซึ่งคาดว่าจะช่วยสนับสนุนให้ประเทศไทยกลายเป็นแหล่งผลิตปลานิลชั้นนำของโลก ได้ในอนาคต” รองอธิบดีกรมประมงกล่าว.

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 3 กันยายน 2552
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=339&contentID=17848

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
  • มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
  • เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
  • อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
  • สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
  • โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
  • มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology