͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

แนะเลี้ยงปลาสวยงามส่งออก สศก.ชี้มูลค่าตลาดกว่าพันล้าน/ปลาหางนกยูงอนาคตดี

เมื่อวันที่ 2 กันยายน 52

แนะเลี้ยงปลาสวยงามส่งออก สศก.ชี้มูลค่าตลาดกว่าพันล้าน/ปลาหางนกยูงอนาคตดี

นางนารีณัฐ รุณภัย รองเลขาธิการ และรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันปลาหางนกยูงเป็นปลาสวยงามชนิดหนึ่งที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงเพื่อการส่ง ออก เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กที่ออกลูกเป็นตัวและมีสีสันสวยงาม โดยมีการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้สายพันธุ์ใหม่ๆ ที่มีลักษณะสีสันลวดลายบนลำตัวและครีบ นิยมนำไปเลี้ยงเพื่อความสวยงามในตู้ ซึ่งแหล่งเพาะเลี้ยงปลาหางนกยูงในประเทศไทยมีหลายแห่ง โดย จ.กาญจนบุรี ถือเป็นแหล่งผลิตปลาหางนกยูงที่มีคุณภาพแห่งหนึ่ง โดยเฉพาะที่อำเภอท่ามะกา มีเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาสวยงาม จำนวน 112 ราย ซึ่งหากเกษตรกรมีการพัฒนาคุณภาพของผลผลิตให้ได้มาตรฐาน ตรงตามความต้องการของตลาด และมีการคัดเลือกสายพันธุ์ รวมทั้งการมีใจรัก ความตั้งใจ และหมั่นเรียนรู้เทคนิคในการเลี้ยงมาปรับใช้ในฟาร์มอย่างจริงจัง ก็จะสามารถเพิ่มราคาของผลผลิตได้มากเป็นเท่าตัว

โดยตลาดในประเทศจะมีการส่งขายที่ตลาดนัดสวนจตุจักร ส่วนราคาจะขึ้นอยู่กับคุณภาพและขนาด ถ้าปลามีขนาดเล็ก สีสันไม่สวยงาม ราคาจะอยู่ที่ตัวละ 1-2 บาท ส่วนขนาดกลางตัวละ 3-4 บาท แต่หากเกษตรกรสามารถพัฒนาคุณภาพของปลาให้มีขนาดใหญ่ แข็งแรง และสีสันสวยงามตามความต้องการของตลาดได้ ก็จะสามารถเพิ่มรายได้มากถึง ตัวละ 5-6 บาท

สำหรับตลาดส่งออกจะมีเอเย่นต์รับซื้อส่งไป โดยมีตลาดหลักที่สำคัญคือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และฮ่องกง เมื่อมีลูกค้าสั่งซื้อปลาเข้ามา ฟาร์มจะมีการคัดแยกปลาตามขนาดใส่ถุงไว้ให้ ซึ่งประเทศไทยนับว่ามีพันธุ์ปลาสวยงามหลายชนิด และเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศจำนวนมาก มีมูลค่าการส่งออกถึงปีละประมาณ 1,000 ล้านบาท จึงจัดได้ว่าอาชีพการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามนับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะมีตลาดรองรับทั้งในและต่างประเทศ เป็นสินค้าที่มีอนาคตสดใส และสร้างศักยภาพในการส่งออกของไทย รองเลขาธิการ กล่าว

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 2 กันยายน 2552
http://www.naewna.com/news.asp?ID=176956

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
  • มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
  • เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
  • อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
  • สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
  • โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
  • มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology