͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

วิถีเกษตรกรรมไทย ถ่ายทอดผ่าน 'โรงเรียนกาสรสิวิทย์'

เมื่อวันที่ 1 กันยายน 52

วิถีเกษตรกรรมไทย ถ่ายทอดผ่าน 'โรงเรียนกาสรสิวิทย์'
สังคมไทยในอดีตเป็นเมืองเกษตรกรรม ปู่ ย่า ตา ยาย ของเราเป็นชาวไร่ ชาวสวน ชาวนา แทบทั้งสิ้น วิถีชีวิตของคนชนบทจะอยู่แบบถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกัน แต่นับวันสิ่งเหล่านี้จะเลือนหายไป เพราะคนไทยมุ่งแต่เทคโนโลยีที่ทันสมัย ต้องการความเจริญ ความศิวิไลซ์ มากกว่าความพอเพียงแต่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระองค์ท่านทรงเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องวิถีชีวิตของคนไทย โดยเฉพาะเกษตรกร ดังคำกล่าวที่ว่า “เมืองไทย เป็นอู่ข้าว อู่น้ำ” พระองค์ท่านจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ “มูลนิธิชัยพัฒนา” จัดตั้ง “โรงเรียนกาสรกสิวิทย์” ที่ตำบลศาลาลำดวน อำเภอเมืองสระแก้ว ขึ้น เพื่อเป็นโรงเรียนฝึกกระบือ และให้เกษตรกรมาใช้ชีวิตที่เกี่ยวข้องกับกระบือ เพื่องานเกษตรกรรม พร้อมทั้งทรงเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงเรียนกาสรกสิวิทย์เป็นการส่วนพระองค์ เมื่อวันอังคาร ที่ 10 มีนาคม 2552 ที่ผ่านมา

ทาง ททท.นครนายก โดยการนำของนางอธิชา   โรจนสุวรรณ ผู้อำนวยการ จึงขานรับเรื่องดังกล่าวมาพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยว หวังดึงดูดให้คนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ ได้มีโอกาสสัมผัสการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ ด้วยการเรียนรู้ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมพื้นบ้าน เน้นปลูกจิตสำนึกคนไทย ให้ความสำคัญกับรากเหง้าเหล่าบรรพบุรุษของเราที่เป็นเกษตรกร

ด้วยการนำ “โรงเรียนกาสรกสิวิทย์” ของมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นต้นแบบเยี่ยมชมความภาคภูมิใจของคนไทย ผ่านวิถีชีวิตดั่งเดิมภายในโรงเรียน ด้วยแปลงฝึก  แปลงฝึกไถ คราดตีลูกทุบ และหมักดิน ให้เกษตรกรและกระบือมีความคุ้นเคยในการทำนาจนชำนาญ เพื่อกลับไปทำการเกษตรในพื้นที่ของตนเอง แปลงนา  เป็นแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว คัดเลือกให้ตรงตามสายพันธุ์ และมีคุณภาพดี ไม่มีการเจือปน เพื่อขยายผลถึงเกษตรกร ให้มีเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีเพื่อนำไปปลูกให้ได้ผลผลิตต่อไป

ขณะที่นิทรรศการเครื่องมือการทำนา แสดงเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำนาที่ใช้กันมาแต่ดั้งเดิม ซึ่งทำขึ้นตามภูมิปัญญาชาวบ้าน อุปกรณ์ทุกชิ้นที่แสดงจะนำไปใช้ในการทำการเกษตรในพื้นที่โรงเรียน หลังจากการนำไปใช้แล้ว จะทำความสะอาด เก็บเข้าที่เดิม เพื่อจัดแสดงต่อไป แปลงหญ้าอาหารสัตว์ จะปลูกพืชอาหารสัตว์ในพื้นที่ 11 แปลง แปลงละ 1 ไร่  คาดว่าจะได้ผลผลิต 2.5 ตันต่อไร่ เพื่อเป็นอาหารกระบือภายในโครงการ บ้านพักปราชญ์ท้องถิ่น แสดงวิถีชีวิตของชาวบ้านที่มีความผูกพันกับกระบือ และความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายแบบพอเพียง มีพืชผักสวนครัว เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ในบริเวณที่อยู่อาศัย รวมทั้งการประมงพื้นบ้าน ซึ่งเป็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรไทยแต่โบราณ

คอกกระบือ มีที่พักกระบือทรงเลี้ยง จำนวน 26 กระบือ ในจำนวนนี้เป็นกระบือผู้ให้ความรู้จำนวน  17 กระบือ และมีที่พักของกระบือที่มาจากธนาคารโคกระบือเพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ ที่เข้ามาเรียนรู้การทำนาในโรงเรียนด้วยบ้านดิน เป็นที่พักของผู้เข้ารับการฝึกอบรม และเป็นต้นแบบของที่อยู่อาศัยจริง เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยต้นแบบของโรงเรียนกาสรกสิวิทย์  ซึ่งเป็นแบบที่ผู้เข้ารับการฝึกสามารถกลับไปปลูกสร้างเองได้ 

การดำเนินการจัดสร้างโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งยังได้มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกันระหว่างโครงการพระราชดำริ โดยได้นำราษฎรในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เข้ามาถ่ายทอดความรู้ระดับท้องถิ่นสู่ท้องถิ่น เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และภูมิปัญญาในระดับชาวบ้านด้วยกัน

นับได้ว่าความเป็นอยู่อย่างไทย ใช้ชีวิตแบบพึ่งพาตนเอง และการอยู่อย่างพอเพียงตามแนวพระราชดำริ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ดูแลสภาพแวดล้อม และรักษาธรรมชาติ สามารถอยู่ร่วมกันเกื้อกูลกันสืบต่อไป.

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 1 กันยายน 2552
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=344&contentID=17321

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
  • มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
  • เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
  • อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
  • สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
  • โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
  • มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology