���͢��¢������Է�ҡ����ѧ����������Postharvest Technology Information NetworkPostharvest Technology�����ɵ���������Ҫԡ���͢������纺��촡���ɵ��ҹ�����ŧҹ�Ԩ��

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

พบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลปริมาณสูงในพื้นที่ภาคกลาง

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 52

พบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลปริมาณสูงในพื้นที่ภาคกลาง นายประเสริฐ โกศัลวิตร อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า ศูนย์ปฏิบัติการติดตามสถานการณ์ข้าว กรมการข้าว ได้รายงานถึงสถานการณ์ศัตรูข้าวว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาศูนย์วิจัยข้าวชัยนาทได้ตรวจพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นจากสัปดาห์ก่อน ประกอบขณะนี้ได้พบการระบาดในแปลงของเกษตรกรด้วย ดังนั้นเกษตรกรในพื้นที่ภาคกลางต้องเร่งสำรวจแมลงที่โคนต้นข้าว หากพบในปริมาณ 10 ตัวต่อกอ (10 ต้น) ควรควบคุมด้วยสารฆ่าแมลงตามคำแนะนำ และควรหลีกเลี่ยงการใช้สารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เพราะสารกลุ่มนี้จะทำลายศัตรูธรรมชาติ และจะเป็นผลเร่งให้เกิดการระบาดของศัตรูข้าวอื่นด้วย เกษตรกรสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน่วยงานของกรมการข้าวใกล้ บ้านและที่ศูนย์บริการชาวนาทั้ง 50 แห่งทั่วประเทศ

นอกจากนี้เกษตรกรที่ปลูกข้าวอยู่ในระยะกล้า โดยเฉพาะข้าวไวต่อช่วงแสงส่วนใหญ่และไม่ไวต่อช่วงแสงบางพันธุ์ชัยนาท 1  จะเลี่ยงต่อโรคไหม้ระยะกล้าข้าวที่อยู่ในระยะแตกกอแน่น โดยเฉพาะพิษณุโลก 2 จะเสี่ยงต่อโรคขอบใบแห้งที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย  หากพบแผลซ้ำเริ่มที่ขอบใบข้าว ควรรีบควบคุม ส่วนข้าวที่อยู่ในระยะใกล้ออกดอกควรระวังโรคเมล็ดด่าง และข้าวบางพันธุ์ เช่น ชัยนาท 1 จะเสี่ยงต่อโรคไหม้คอรวง โดยทั้งสองโรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อรา ควรใช้สารป้องกัน กำจัดโรค

ส่วนเกษตรกรภาคเหนือ ถ้าข้าวอยู่ในระยะใกล้ออกดอก  ควรระวังโรคเมล็ดด่างและใช้สารป้องกันกำจัดในระยะใกล้ออกดอกนี้ และทางตอนบนของภาค อากาศมีความเสี่ยงต่อโรคไหม้ ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว  เกษตรกรควรเฝ้าระวัง  หากพบแผลรูปตาบนใบควรใช้สารป้องกันกำจัดโรค

สำหรับทางตอนล่างของภาค ข้าวที่อยู่ในระยะแตกกอแน่น โดยเฉพาะพันธุ์พิษณุ โลก  2  จะเสี่ยงต่อโรคขอบใบแห้ง และข้าวที่อยู่ในระยะใกล้ออกดอก มีความเสี่ยงต่อโรคเมล็ดด่าง การป้องกันกำจัด เกษตรกรควรใช้ พันธุ์ต้านทานโรค ได้แก่ สุพรรณบุรี  1 สุพรรณบุรี 2 สุพรรณบุรี 60 สุพรรณบุรี 90 ชัยนาท 1 ปราจีนบุรี 1 พลายงาม คลองหลวง 1 พิษณุ โลก 1 สุรินทร์  1  เหนียวอุบล เหนียวแพร่ สันป่าตอง 1 หางยี 71 กู้เมืองหลวงขาว โปร่งไคร้ น้ำรูและดอกพะยอม.

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 7 สิงหาคม 2552
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=339&contentID=12634

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
  • มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
  • เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
  • อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
  • สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
  • โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
  • มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology