͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

โอกาสใหม่ร้าน 'Q shop' หลักประกันปุ๋ยคุณภาพ

เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 52

โอกาสใหม่ร้าน 'Q shop' หลักประกันปุ๋ยคุณภาพ จากการที่กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนิน “โครงการร้านจำหน่ายสารเคมีทางการเกษตรและปุ๋ยที่มีคุณภาพ” หรือ ร้านคิวช็อป (Q Shop) มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อปกป้องเกษตรกรผู้ปลูกพืชทั่วประเทศให้ได้รับปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐาน ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต  ซึ่งปัจจุบันมีร้านจำหน่ายสารเคมีทางการเกษตรเข้าร่วมโครงการร้านคิวช็อป แล้ว 205 ร้าน และ ร้านขายปุ๋ย 66  ร้านทั่วประเทศ

ปี 2552 นี้ กรมวิชาการเกษตรได้ออกประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการร้านคิวช็อป ปุ๋ยขึ้นใหม่ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการขายปุ๋ยสามารถเข้าร่วมโครงการฯ ได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มจำนวนร้านขายปุ๋ยคุณภาพมากขึ้นในอนาคต โดยผู้เข้าร่วมโครงการฯ ต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตขายปุ๋ย และต้องไม่เป็นผู้ที่มีประวัติถูกดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ยังต้องมีผู้แนะนำการใช้ปุ๋ยประจำร้านที่มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีสาขาทางการเกษตรหรือที่เกี่ยวข้อง หรือมีผู้ที่มีประสบการณ์ในการแนะนำด้านปุ๋ยหรือจำหน่ายมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือเป็นร้านค้าที่สมาคมที่เกี่ยวข้องกับปุ๋ย ได้แก่ สมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย สมาคมการค้าผู้ผลิตปุ๋ยไทย และสมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร ให้การรับรองก็สามารถยื่นสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ได้

สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการร้านขายปุ๋ยที่มีคุณภาพ ต้องมีสำเนาใบสำคัญการขึ้นทะเบียน หรือหนังสือสำคัญรับแจ้งสำหรับปุ๋ยทุกชนิดที่นำมาจำหน่าย พร้อมจัดทำบัญชีซื้อปุ๋ย (บชร.2) ทุกครั้งที่มีการซื้อสินค้าเข้าร้าน และสามารถตรวจสอบหลักฐานได้ รวมทั้งยังต้องมีการจัดร้านอย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยจัดทำป้ายไว้ในที่เปิดเผย สามารถเห็นได้ง่ายจากภายนอกอาคาร แสดงว่าเป็นสถานที่ขายปุ๋ย

ขณะเดียวกันยังต้องแยกเก็บปุ๋ยเป็นสัดส่วนห่างจากเครื่องบริโภค อีกทั้งยังต้องรักษาฉลากที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุปุ๋ย และเอกสารกำกับปุ๋ยให้คงอยู่ครบถ้วนและชัดเจน กรณีผู้ขายแบ่งปุ๋ยจากหีบห่อบรรจุเพื่อขายปลีก ผู้ขายต้องจัดให้มีเอกสารกำกับปุ๋ยที่มีข้อความตรงกับเอกสารกำกับปุ๋ยที่ แบ่งขายให้แก่ผู้ซื้อทุกครั้ง

ถ้าร้านขายปุ๋ยผ่านการตรวจประเมินตามเงื่อนไข กรมวิชาการเกษตรจะออกหนังสือรับรองการเข้าร่วมโครงการร้านขายปุ๋ยที่มีคุณภาพให้ พร้อมเครื่องหมาย “Q Shop” โดยใบรับรองจะมีอายุ 3 ปี เมื่อหมดอายุต้องยื่นขอต่ออายุใหม่ หากสุ่มตรวจสอบพบว่าผู้เข้าร่วมโครงการร้านขายปุ๋ยที่มีคุณภาพรายใดคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ หรือมีการลักลอบจำหน่ายปุ๋ยที่ไม่ได้มาตรฐาน กรมวิชาการเกษตรจะพิจารณาเพิกถอนหนังสือรับรองทันที

ภายหลังปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการฯ ใหม่แล้ว คาดว่าจะมีร้านคิวช็อป ปุ๋ยเพิ่มมากขึ้น ปี 2552 นี้ มีเป้าหมายไม่น้อยกว่า 500 ร้านค้า นอกจากนั้นกรมวิชาการเกษตรยังได้ประสานความร่วมมือกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เร่งผลักดันสหกรณ์การเกษตรที่เป็นลูกค้า ธ.ก.ส.ให้เข้าร่วมโครงการ คิวช็อปด้วย ซึ่งขณะนี้มีสหกรณ์การเกษตรยื่นสมัครเข้าร่วมโครงการฯ แล้วกว่า 50 สหกรณ์ เบื้องต้นคาดว่าจะมีสหกรณ์ที่ผ่านตรวจประเมินและได้รับหนังสือรับรองร้าน คิวช็อป ไม่น้อยกว่า 40 สหกรณ์ ถือเป็นช่องทางที่จะช่วยให้เกษตรกรสมาชิกได้ใช้ปุ๋ยที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และช่วยลดความเสี่ยงในการถูกหลอกซื้อปุ๋ยปลอมและปุ๋ยผิดมาตรฐาน ซึ่งจะทำให้เกษตรกรสูญเสียผลประโยชน์และได้ผลไม่คุ้มค่าการลงทุน

สำหรับผู้ขายปุ๋ยที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการ คิวช็อป สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายปุ๋ยเคมี สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร โทร. 0-2579-5536-7 หรือสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร (สวพ.) ทั้ง 8 เขต

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 28 กรกฎาคม 2552
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=346&contentID=10562

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
  • มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
  • เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
  • อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
  • สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
  • โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
  • มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology