͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

รีไซเคิลลำไยผลิตพลังงานชีวมวล

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 52

รีไซเคิลลำไยผลิตพลังงานชีวมวล ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 30 มิ.ย. ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมว.วิทยาศาสตร์ฯ พร้อมด้วย รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ รองปลัดกระทรวง วิทยาศาสตร์ฯ และนายณรงค์ สกุลศิริรัตน์ อุปนายกสมาคมเครื่องจักรกลไทยร่วมแถลงข่าว การรีไซเคิลลำไยค้างสต๊อกปี 2546-2547 เพื่อนำไปเป็นพลังงานชีวมวล โดย ดร.คุณหญิงกัลยา กล่าวว่า หลังจาก ครม.มีมติอนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทำลายลำไยค้างสต๊อกที่เน่าเสียในวงเงินไม่เกิน 90 ล้านบาท กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯจึงได้เสนอขอรับทำลายลำไยให้ และจะเปลี่ยนจากขยะมาเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล โดยใช้งบประมาณในวงเงิน 78.29 ล้านบาท ส่วนอีกประมาณ 11 ล้านบาท กระทรวงเกษตรฯ ใช้เป็นค่าบริหารจัดการในการตรวจนับลำไย

รศ.ดร.วีระพงษ์ กล่าวว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์เข้าไปรับรีไซเคิลลำไย ในขั้นตอนหลังจากที่กระทรวงเกษตรฯ นับจำนวนลำไยค้างสต๊อกในโกดังเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะใช้เทคโนโลยีจากโครงการวิศวกรรมย้อนรอยของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เบื้องต้นสามารถเคลียร์ลำไยค้างสต๊อกจำนวน 46,800 ตัน ออกจาก 59 โกดังใน 5 จังหวัดได้ภายใน 3 เดือนแรก และจะสามารถรีไซเคิลเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลได้ทั้งหมด ภายใน 6 เดือน รวม ระยะเวลาโครงการทั้งสิ้น 9 เดือน โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ร่วมกับสมาคมเครื่องจักรกลไทย และศูนย์วิจัยพลังงานชีวมวล ม.เชียงใหม่ คาดว่าจะได้เชื้อเพลิงชีวมวลกว่า 2 หมื่นตัน ซึ่งเอกชนผู้ร่วมโครงการจะเป็นผู้รับซื้อเองในราคาตันละประมาณ 1,500 บาท ทำให้รัฐบาลได้รับเงินคืนกลับอีกไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท.

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 1 กรกฎาคม 2552
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=316&contentID=5948

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
  • มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
  • เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
  • อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
  • สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
  • โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
  • มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology