บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาชนิดของสารหอมระเหยที่ให้กลิ่นหอมเฉพาะของมะม่วงอกร่อง

สุมิตรา บุญบำรุง และ ฮิโรโตชิ ทามูระ

กำหนดการประชุมและบทคัดย่อ, การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 3 , 22-25 เมษายน 2546 ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพมหานคร. หน้า 100

2546

บทคัดย่อ

การศึกษาชนิดของสารหอมระเหยที่ให้กลิ่นหอมเฉพาะของมะม่วงอกร่อง       การคัดเลือกสารหอมระเหยที่ให้กลิ่นหอมเฉพาะของมะม่วงอกร่อง โดยทำการศึกษาจากน้ำมันหอมระเหยที่สกัดด้วยวิธี Simultaneous Distillation Extraction โดยใช้เครื่อง Modified Likens-Nickerson โดยมี Diethyl ether เป็นตัวทำละลายที่อุณหภูมิ 50°Cระยะเวลาในการสกัด 1 ชั่วโมง จากนั้นนำไปปรับปริมาตร โดยการกลั่นด้วยคอลัมน์ชนิด Vigreux ที่ 50°Cและทำการไล่ตัวทำละลายต่ออีกโดยใช้ N2 จากนั้นเก็บภายใต้บรรยากาศ N2 (-20°C ) ตลอดการวิเคราะห์ การตรวจหาสารหอมระเหยที่เป็นองค์ประกอบใน essential oil ที่สกัดได้โดยการยีนยันด้วย GC โดยใช้ FID เป็นตัวตรวจวัดเทียบกับสารมาตรฐานและตรวจสอบเอกลักษณ์เฉพาะตัวเพื่อยืนยันชนิดของสารด้วย GC/MS นอกจากนั้นมีการยืนยันกลิ่นของสารแต่ละตัวที่ตรวจหาโดยการใช้ GC-O ร่วมในการวิเคราะห์ผลปรากฏว่า สารหอมระเหยที่ตรวจพบนั้นมีปริมาณสารมากกว่า 100 ชนิดแต่สารสำคัญที่พบ ซึ่งคาดว่าน่าจะมีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดกลิ่นรสเฉพาะของมะม่วงอกร่อง คือ β-Damascenone (E,Z)-(2,6)-Nonadienal Terpiolene δ-3-Carene (E)-2-Nonenal Linalool α- Terpinene trans-Carveol 2,5-Dimetyl-4-methoxy-3(2H)-furnoneρ-Methyllacetophenone และMyrcene ซึ่งสารเหล่านี้แม้ว่าบางตัวมีปริมาณในการตรวจพบไม่มากนักแต่เนื่องจากปริมาณการตรวจจับได้ของสารเหล่านี้มีปริมาณต่ำ ดังนั้น ถึงแม้ว่าพบสารเหล่านี้ในปริมาณน้อยแต่สารเหล่านี้ก็มีบทบาทที่สำคัญต่อการเกิดกลิ่นหอมเฉพาะได้เช่นเดียวกัน ดังรายงานจากการทดลองนี้ให้ผลสอดคล้องกัน ทั้งทางด้านการพิสูจน์ด้วยการดมและอาศัยทฤษฎี Limited Odor Unit Method ซึ่งจากผลการทดลองนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งทางอุตสาหกรรมอาหาร/เครื่องหอม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมผัก ผลไม้ต่าง ๆ ที่ต้องการปรับปรุงด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้น