บทคัดย่องานวิจัย

รูปแบบของโปรตีนโดยอีเล็กโตรโฟนีซิสระหว่างการสุกของผลมะม่วง

นิธิยา รัตนาปนนท์ สุขสันต์ ตันศิริ และรัตนา อัตตปัญโญ

การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 3 , 22-25 เมษายน 2546 ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพมหานคร.กำหนดการประชุมและบทคัดย่อ. หน้า 98

2546

บทคัดย่อ

รูปแบบของโปรตีนโดยอีเล็กโตรโฟนีซิสระหว่างการสุกของผลมะม่วง การศึกษารูปแบบโปรตีนจากผลมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ที่สุกบนต้นและผลมะม่วงพันธุ์มหาชนกที่ไม่ได้บ่มและที่บ่มให้สุกด้วยแคลเซียมคาร์ไบต์ที่ระยะการสุกต่าง ๆ โดยการสกัดโปรตีนที่ละลายได้ด้วยสารละลายโซเดียมฟอสเฟตบัฟเฟอร์ความเข้มข้น 0.05โมล่าร์ พีเอช 6.2 ที่มีโซเดียมโดเดกซิลซัลเฟต (เอสดีเอส) ละลายอยู่ 1% และแยกโปรตีนที่สกัดได้ด้วยวิธีเอสดีเอส-โพลีอะครีลาไมด์เจลเล็กโตรโฟรีซิสความเข้มข้น 10% ผลการทดลองพบว่า ระหว่างการสุกของผลมะม่วงทั้ง 2 พันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงชนิดและปริมาณของตีนและผลโปรตีนในผลมะม่วงทั้งสองพันธุ์ส่วนใหญ่เป็นโปรตีนที่มีน้ำหนักโมเลกุลปานกลางโดยในระหว่างการสุกบนต้นของผลมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์มีแถบโปรตีนที่เห็นได้ชัดเจน 9 แถบ มีน้ำหนักโมเลกุลประมาณ 90.074.061.742.636.331.020.917.4และ15.5 กิโลดาลตัน ตามลำดับและในผลมะม่วงดิบไม่ปรากฏแถบโปรตีนที่น้ำหนักโมเลกุล 42.6 กิโลดาลตันแต่พบในผลมะม่วงตั้งแต่เริ่มสุกจนสุกเต็มที่ ส่วนผลมะม่วงพันธุ์มหาชนกมีแถบโปรตีนที่เห็นได้ชัดเจน 11 แถบ มีน้ำหนักโมเลกุลประมาณ 95.575.966.151.340.736.331.629.521.919.1และ 16.6 กิโลดาลตันตามลำดับ และผลมะม่วงพันธุ์มหาชนกที่มีระยะการสุกในวันที่ 4 และ 6 ทั้งกลุ่มที่ไม่บ่มและกลุ่มที่บ่มด้วยแคลเซียมคาร์ไบด์เท่านั้นที่มีแถบโปรตีนที่ 36.3 กิโลดาลตัน ในขณะที่มะม่วงระยะการสุกอื่นไม่ปรากฏแถบโปรตีนนี้และเมื่อเปรียบเทียบน้ำหนักโมเลกุลของแถบโปรตีนที่เห็นได้ชัดเจนระหว่างผลมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์และมหาชนกที่มีระยะการสุกต่าง ๆ พบว่า แถบโปรตีนส่วนใหญ่มีน้ำหนักโมเลกุลแตกต่างกัน ยกเว้นแถบโปรตีนที่มีน้ำหนักโมเลกุล 36.3 กิโลดาลตัน เท่านั้นที่เหมือนกัน