บทคัดย่องานวิจัย

ศึกษาผลของการรมเมทธิลโบรไมด์และการจุ่มอิมิดาคลอพริดที่มีต่อคุณภาพและอายุการใช้งานของดอกกล้วยไม้

จงวัฒนา พุ่มหิรัญ, ทวีศักดิ์ แสงอุดม, เบญจมาส รัตนชินกร, ปิยรัตน์ เขียนมีสุข, ไพศาล รัตนเสถียร และ อวยชัย สมิตะสิริ

การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 1, 11-13 กรกฎาคม 2544. ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพฯ. กำหนดการประชุมและบทคัดย่อ. หน้า 171.

2544

บทคัดย่อ

ศึกษาผลของการรมเมทธิลโบรไมด์และการจุ่มอิมิดาคลอพริดที่มีต่อคุณภาพและอายุการใช้งานของดอกกล้วยไม้ ปัจจุบันกล้วยไม้ไทยมีคุณภาพลอลง ทำให้มีราคาต่ำกว่าประเทศที่กำลังเป็นคู่แข่งสำคัญ คือประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ เนื่องจากมีจำนวนดอกบานต่อช่อน้อย อีกทั้งแระสบปัญหาเพลี้ยไฟติดไปกับดอกกล้วยไม้ ทำให้ได้รับความเสียหาย จำเป็นต้องรมเมทิลโบรไมด์ในการกำจัดเพลี้ยไฟ ผลจากการรมเมทธิลโบรไมด์มีผลกระทบต่อคุณภาพของดอกกล้วยไม้ จึงทำการศึกษาผลของการรมเมทธิบโบรไมด์และการจุ่มอิมิดาคลอพริดที่มีต่อคุณภาพและอายุการใช้งานของดอกกล้วยไม้ชนิดต่างๆ พบว่า จากการรมเมทธิลไบรไมด์ ในอัตรา 24 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร(อัตราแนะนำ) เป็นเวลา 90 นาทีในกล้วยไม้สกุลหวาย ดอกตูมเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลในสกุลอื่นๆ ทั้งนี้ดอกตูมที่สมบูรณ์จะแสดงอาการช้ากว่าดอกตูมที่อ่อนกว่า โดย อะแรนด้า มีความทนต่อเมทธิลโบรไมด์มากกว่าชนิดอื่น รองลงมา คือหวาย มอคคาร่า อะแรนเทอร่า อะแรคนิส และออนซิเดียม ตามลำดับ ทั้งนี้ในสกุลแวนด้าอ่อนแอต่อเมธิลโบรไมด์มากที่สุด

จากการศึกษาคุณภาพดอกกล้วยไม้ที่รมเมทธิลโบรไมด์ ในอัตราต่างๆ คืออัตรา 18 20 และ 24 กรัมตอลูกบาศก์เมตร เป็นเวลา 90 นาที และจุ่มช่อดอกด้วยอิมิดาคลอพริด อัตรา 20 CC/น้ำ 20 ลิตร 5 วินาที พันธุ์ทดลองคือสกุลหวาย ได้แก่ รินนภา ซาบิน ทับทิมสยาม มิสทีน แอนนา ซากุระ บอม17 บอมนิว17 ขาว 5N ขาวประวิทย์ และขาวสนาน สกุลมอคคาร่า ได้แก่ คาลิปโซ่ สายัณห์ และแครอล สกุลออนซเดียม ดอกใหญ่ และดอกเล็ก พบว่า ความเสียหายของดอกกล้วยไม้จากเมทธิลโบรไมด์มากขึ้นตามความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้น โดยจะแสดงอาการเหลืองที่ดอกตูมก่อน ส่วนการจุ่มอิมิดาคลอพริดไม่มีผลทำให้ดอกตูมเสียหายแต่อย่างใด ไม่แตกต่างกับ control ทั้งนี้สกุลต่างๆ ตอบสนองต่อเมทธิลโบรไมด์ต่างกัน โดยสกุลมอคคาร่าทนเมทธิลโบรไมด์มากกว่าสกุลหวาย และออนซิเดียม ตามลำดับ และกล้วยไม้ในแต่ละพันธุ์ก็ตอบสนองต่อเมทธิลโบรไมด์แตกต่างกัน