บทคัดย่องานวิจัย

วิจัยและพัฒนาเครื่องนวดเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีน

คนึงศักดิ์ เจียรนัยกุล จารุวัฒน์ มงคลธนทรรศ จรัญ ดิษฐไชยวงศ์ และชำนาญ ทองกลัด

รายงานการประชุมวิชาการเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผลิตผลพืชสวน ครั้งที่ 4 วันที่ 8-10 พฤษภาคม 2539 ณ โรงแรมไดมอนพลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. กรุงเทพฯ, 2540, หน้า 50-70 .130 หน้า.

2540

บทคัดย่อ

วิจัยและพัฒนาเครื่องนวดเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีน

ปัจจุบันเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนเป็นที่ต้องการของต่างประเทศ และมีการส่งออกมากกว่า 1,000 ตันต่อปี จึงมีเกษตรกรจำนวนไม่น้อยปลูกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ แต่ยังไม่มีเครื่องนวดเฉพาะสำหรับนวดผักบุ้ง ต้องใช้เครื่องนวดข้าวขนาดใหญ่มาดัดแปลงใช้งานเฉพาะช่วงที่ต้องการ ประสิทธิภาพการทำงานจึงไม่ดีเท่าที่ควร ศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตร สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ที่ดำเนินงานวิจัยปรับปรุงพันธุ์ และผลิตเมล็ดพันธุ์หลัก มีความต้องการใช้เครื่องนวดเมล็ดพันธุ์ผักบุ่ง เพื่อใช้แทนวิธีนวดโดยใช้ไม้ทุบที่มียากลำบากและใช้เวลามาก เพราะต้องตากผักบุ้งจนเปลือกหุ้มเมล็ด และต้นแห้งกรอบก่อน แล้วใช้ไม้ทุบพร้อมกับบดขยี้นวดแยกเมล็ดออกจากฝักและต้น จากนั้นจึงฝัดแยกเปลือกและสิ่งเจือปนออก คณะผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการวิจัยพัฒนาเครื่องนวดเมล็ดพันธุ์ผักบุ้ง สำหรับใช้ในงานวิจัยปรับปรุงพันธุ์และผลิตเมล็ดพันธุ์หลัก เป็นเครื่องนวดระบบไหลตามแกนลูกนวด ความยาวลูกนวด 915 มม. ใช้เครื่องยนต์เบนซินขนาด 8 แรงม้า เป็นต้นกำลัง ระยะห่างระหว่างปลายฟันและตะแกรงล่างลูกนวด 6.0 มม. ความเร็วรอบของลูกนวดที่ เหมาะสมอยู่ระหว่าง 8.11-8.56% มาตรฐานเปียก ที่ความเร็วรอบลูกนวด 600 รอบต่อนาที จะมีประสิทธิภาพการนวดประมาณ 99% การสูญเสียรวมต่ำกว่า 0.5% อัตราการทำงาน 300 กก./ชม. ความงอกของเมล็ดไม่แตกต่างจากวิธีทุบด้วยไม้ ขณะนี้ได้เผยแพร่ต้นแบบให้โรงงานเอกชนนำไปผลิตจำหน่ายแล้ว ปัจจุบันนี้มีใช้อยู่ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตร