บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาวิธีการลอกเยื่อเมล็ดมะม่วงหิมพานต์

ธวัชชัย ทิวาวรรณวงศ์ เสรี วงส์พิเชษฐ และสมศักดิ์ อังกุรวัฒนานุกูล

รายงานการวิจัย ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2537

บทคัดย่อ

การศึกษาวิธีการลอกเยื่อเมล็ดมะม่วงหิมพานต์

·  คุณสมบัติเบื้องต้นของเมล็ดในและเยื่อหุ้มเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ได้รับการ ทดสอบโดยใช้เมล็ดมะม่วงหิมพานต์พันธุ์ศรีสะเกษ 60-1 เป็นตัวอย่างในการศึกษา ได้ผลโดยเฉลี่ยคือ ความหนาของเยื่อ 0.61 มม. ความชื้นของเมล็ดใน 4.74% (wb) อัตราส่วนระหว่างเมล็ดในต่อเยื่อ (โดยน้ำหนัก) 10.4:1 ความชื้นของเยื่อ 9-11%

·  การศึกษาแนวทางการลอกเยื่อเมล็ดมะม่วงหิมพานต์พบว่า วิธีการเตรียมเมล็ด ก่อนการลอกเยื่อที่น่าสนใจมีสองวิธีคือ วิธีอบให้แห้งด้วยตู้อบและวิธีแช่ในน้ำ ปูนใสหรือน้ำสารส้ม สำหรับวิธีการลอกเยื่อได้ศึกษาแนวโน้มความเป็นไปได้ของการ ใช้ลมที่มีความดันสูงเป่าเยื่อออกจากเมล็ด ซึ่งทดลองโดยใช้ความดันลมในช่วง 90-130 ปอนด์ต่อตร.นิ้ว ซึ่งให้อัตราการลอกเยื่อ 0.89-1.16 กก./ชม. และ เปอร์เซนต์ เมล็ดในประกบคู่เฉลี่ย 97.6