บทคัดย่องานวิจัย

ทดสอบและสาธิตเครื่องลดความชื้นผักและผลไม้

ศรีวัย สิงหะคเชนทร์ พิมล วุฒิสินธ์ สุภัทร หนูสวัสดิ์ และ สิริชัย ส่งเสริมพงศ์

รายงานการวิจัย สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

2535

บทคัดย่อ

ทดสอบและสาธิตเครื่องลดความชื้นผักและผลไม้

กลุ่มงานวิจัยวิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยว ได้ทำการพัฒนาและปรับปรุง เครื่องลดความชื้นผักและผลไม้ ซึ่งแต่เดิมได้ออกแบบให้ใช้วัสดุเหลือใช้การ เกษตร เช่น แกลบ ซังข้าวโพด กาบมะพร้าว และฟืน เป็นเชื้อเพลิงกำเนิด ลมร้อน แต่ในท้องถิ่นที่มีการแปรรูปผลผลิตเกษตร วัสดุเหลือใช้การเกษตรหา ยาก จึงได้ทำการวิจัยเพื่อพัฒนาเครื่องลดความชื้นผักและผลไม้ให้ใช้ก๊าซหุง ต้ม (LPG) เป็นเชื้อเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยวิจัยออกแบบหัวเผาแก๊ส LPG รูปทรงกระบอก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 ซม. ยาว 15 ซม. สามารถ เผาไหม้แก๊ส LPG ที่แรงดัง 14 psi ในอัตรา 2 กก./ชม. เปลวไฟที่เผา ไหม้มีสีน้ำเงินสะอาดปราศจากกลิ่นและเขม่า ใช้ลดความชื้นผักและผลไม้ได้ โดยไม่ต้องผ่านท่อแลกเปลี่ยนลมร้อน หัวเผาแก๊สนี้นำมาใช้กับเครื่องลดความ ชื้แบบตู้ ขนาด 1.2x1.2x1.8 ม. ฝาตู้บุด้วยฉนวนกันความร้อน (ชานอ้อย) หนา 2.5 ซม. โดยรอบภายในมีถาดบรรจุผลิตผล 46x90 ซม. จำนวน 40 ถาด มีตัวควบคุมอุณหภูมลมร้อน ซึ่งเชื่อมต่อกับ Solinoid สวิทช์ตัดต่อ การ ไหลของ LPG เพื่อการเผาไหม้ สามารถควบคุมอุณหภูมิสม่ำเสมอ 1 องศา เซลเซียส ตลอดการอบ ในการลดความชื้น ลมร้อนจะหมุนเวียนภายในตู้อบ ผ่านถาดบรรจุผลิตผลในแนวขนานจนกว่าจะแห้งดี ผลการทดสอบลดความชื้น มะม่วงแช่อิ่ม จำนวน 50 กก. สามารถระเหยน้ำได้ 25.6 กก. ภายใน เวลา 8 ชม. ประสิทธิภาพในการลดความชื้นคำนวณได้ 6.5 % แต่จะเปลี่ยน ไปตามชนิดของผลผลิต คือ ลดความชื้นเกสรผึ้ง 20 กก. ใช้เวลา 7 ชม. ระเหยน้ำได้ 6 กก. หรือประสิทธิภาพ 23% และอบดอกดาวเรือง จำนวน 40 กก. มีประสิทธิภาพ 49%