บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษา Packing ในระบบลดอุณหภูมิ (Precooler)

ชุมพล ลิมปวัฒนภูมิ และ สุรพล พรนิมิตรธรรม

โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่, 2530. 35 หน้า.

2530

บทคัดย่อ

การศึกษา PACKING ในระบบลดอุณหภูมิ (PRECOOLER)

โครงการวิจัยนี้เป็นการศึกษาหาค่าคงที่ของ PACKING ซึ่งเป็นอุป- กรณ์หลักในการถ่ายเทความร้อนในระบบลดอุณหภูมิ โดยค่าคงที่ของ PACKING ที่ทำการทดสอบหานี้คือ n และ แลมดา ซึ่งเป็นคุณสมบัติเฉพาะ ของ PACKING ที่มีรูปทรงแต่ละชนิด ค่าคงที่ที่ได้จะทำให้ทราบประสิทธิภาพ ในการแลกเปลี่ยนความร้อนของระบบลดอุณหภูมิที่ประกอบด้วย PACKING ชนิดนั้นว่าดีเพียงไร ในขั้นแรกของโครงการนี้เป็นการศึกษาและออกแบบ PACKING ที่จะนำมาใช้ทำการทดลอง จากนั้นจึงปรับปรุงระบบลดอุณหภูมิที่มี อยู่แล้วให้เหมาะสมกับการทดลองนี้ โดยต่อท่อน้ำระบบ bypass และดัด แปลงระบบอากาศเข้าและออกของระบบใหม่ จากผลการออกแบบ PACKING จะใช้ PACKING ชนิด ตะแกรงลวดซึ่งมีขนาดรูตะแกรง 0.013x0.013 ตร. ซม. ขนาด 0.9x0.9 ตร.ซม. จำนวน 20 ชั้น และมีระยะห่างระหว่างชั้น ประมาณ 0.029 ม. และ PACKING ชนิดสังกะสีลอนลูกฟูก ซึ่งสร้างโดยใช้ สังกะสีลอนใหญ่ขนาด 0.5x0.9 ม2 จำนวน 35 แผ่น มาวางเรียงขนานกัน มีระยะห่างประมาณ 0.023 ม. ซึ่ง PACKING ทั้งสองชนิดจะทำการทดสอบ ในระบบลดอุณหภูมิขนาด 0.9x0.9 ตร.ซม. จากผลการทดลอง เมื่อนำข้อมูล มาวิเคราะห์หาค่าความผิดพลาดและ Fit curve ข้อมูลด้วยวิธี Least-square จะพบว่าข้อมูลของ PACKING ชนิดตะแกรงลวดชุดอุณหภูมิขาเข้าของอากาศที่ 21 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิขาเข้าของน้ำ 5 องศาเซลเซียส มีการกระ จายข้อมูลที่เหมาะสมที่จะนำมาพิจารณาดีที่สุด ซึ่งมีค่าคงที่ n = 0.874 และ แลมดา = 0.086 1/เมตร สำหรับ PACKING ชนิดสังกะสีลอนลูกฟูก จะพบ ว่าข้อมูลของ PACKING ชุดอุณหภูมิขาเข้าของอากาศ 40 องศาเซลเซียส และ อุณหภูมิขาเข้าของน้ำ 10 องศาเซลเซียส เป็นข้อมูลที่เหมาะที่สุด ซึ่งวิเคราะห์ ค่าคงที่ n = 0.938 และ แลมดา = 2.165 1/เมตร