บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับผลของแรงกดต่อคุณภาพของมังคุด

รำไพ อินแก้วพะเนา

โครงงานวิศวกรรมเกษตร (วศ.ม. (วิศวกรรมเกษตร)) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2536. 66 หน้า.

2536

บทคัดย่อ

การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับผลของแรงกดต่อคุณภาพของมังคุด

·  ผลมังคุดทั้งสองระดับสี คือสีแดงเข้ม (สมมติให้เป็นระดับสีที่ 2) และ สีม่วงเข้มถึงสีดำ (สมมติให้เป็นระดับสีที่ 4) ได้ถูกทดสอบการบีบอัดด้วยแผ่น โลหะผิวเรียบ (Mettallic flat plate) ที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 25 mm/min ด้วยเครื่องทดสอบการบีบอัด เพื่อศึกษาถึงค่าแรง ค่าสัมประสิทธิ์ ความยืดหยุ่น และค่าพลังงานที่ใส่ให้ ซึ่งทำให้เกิดผลเสียหายต่อคุณภาพมังคุด ในลักษณะต่าง ๆ ผลการทดสอบพบว่า มังคุดทั้งสองระดับสีมีความถ่วงจำเพาะ อยู่ในช่วย 0.92-1.19 ในระดับสีที่ 2 และ 0.88-1.06 ในระดับสีที่ 4 มี ค่าความหวานปานกลางถึงสูง (% brix อยู่ในช่วง 15.00-21.70)

·  ผลมังคุดมีพฤติกรรมเชิงกลแบบยืดหยุ่นภายใต้การบีบอัดอย่างช้า ๆ ที่ไม่ ดีนัก สัมประสิทธิ์ความยืดหยุ่นขึ้นอยู่กับระดับสีเป็นหลัก เมื่อพิจารณาความไม่ ต่อเนื่อง (Discontinuity) ของเส้นโค้งความสัมพันธ์ระหว่างแรง และ การเปลี่ยนรูป ความล้มเหลวเชิงกลเกิดที่ Bioyield point (จุดที่เริ่มการ แตกหักของโครงสร้างภายในเซล) แรงมีผลโดยตรงต่อคุณภาพเนื่องและเปลือก ของผลมังคุดทั้งสองระดับสี ซึ่งในระดับแรง มากกว่าหรือเท่ากับ 1.5 kg ทำ ให้เกิดผลเสียหายกับผลมังคุดในระดับสีที่ 2 ในลักษณะตั้งแต่เปลือกบริเวณที่ กดแข็งหรือช้ำ เนื้อช้ำหรือยุบ จนกระทั่งถึงเกิดการปริแตกทันทีตามระดับแรงที่ มากขึ้นและค่าของสัมประสิทธิ์ความยืดหยุ่น ค่าของพลังงานที่ใส่ให้โดยเฉลี่ย จะอยู่ในช่วง 1.516-0.556 MPa และ 1.54-114.11 mj ตามลำดับ สำหรับระดับสีที่ 4 ที่ระดับแรง ตั้งแต่ 0.5 kg ก็เริ่มมีผลต่อคุณภาพเนื้อและ เปลือกมังคุดได้หลายลักษณะ เริ่มที่เปลือกบริเวณที่กดแข็งหรือผลแข็ง เปลือก และเนื้อบริเวณที่กดช้ำ การเน่าเสียของผล จนกระทั่งปริแตกทันที ซึ่งในระดับ สีที่ 4 นี้ ผลของแรงมีโอกาสที่จะทำให้เกิดความเสียหายกับผลมังคุดได้หลาย ลักษณะโดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับค่าแรงที่เพิ่มขึ้นเสมอไป สำหรับค่าสัมประสิทธิ์ความ ยืดหยุ่น และค่าของพลังงานที่ใส่ให้โดยเฉลี่ยจะอยู่ในช่วง 0.822-0.306 MPa และ 2.29-172.39 mj