บทคัดย่องานวิจัย

การออกแบบและทดสอบการอบแห้งข้าวเปลือกในถังเก็บ

สมเกียรติ ปรัชญาวรากร สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ ปราศรัย ชลิดาพงศ์ และ อดิศักดิ์ นาถกรนกุล

วารสารเกษตรศาสตร์ (สาขาวิทยาศาสตร์) ปีที่ 28, 2537. หน้า 451-462.

2537

บทคัดย่อ

การออกแบบและทดสอบการอบแห้งข้าวเปลือกในถังเก็บ

·  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและทดสอบการอบแห้งข้าวเปลือกในถัง เก็บ โดยพิจารณาความสิ้นเปลืองพลังงานและคุณภาพของข้าวเปลือกหลังการอบแห้ง นอกจากนี้ยังมีการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐศาสตร์ จากการทดลองพบว่า ระบบอบแห้งที่ออกแบบมีการกระจายของลมสม่ำเสมอตลอดพื้นที่อบแห้ง การสูญเสีย ความดันในระบบอบแห้งโดยส่วนใหญ่เกิดจากการไหลของอากาศผ่านกองข้าวเปลือก ในการลดความชื้นข้าวเปลือกจากความชื้น 16% มาตรฐานเปียก เหลือ 14% มาตรฐานเปียก โดยใช้อัตราการไหลอากาศประมาณ 2.03 cb.m/min-cb.m ข้าวเปลือก ต้องสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าโดยเฉลี่ย 19 บาทต่อตันข้าวเปลือก เปอร์เซนต์ข้าวเต็มเมล็ดดีกว่าการอบแห้งโดยวิธีตากแดด 11% ผู้ผลิตมีรายได้เพิ่ม ขึ้นจากการที่ได้ข้าวเต็มเมล็ดเพิ่มขึ้นประมาณ 160 บาทต่อตันข้าวเปลือก ในการ เก็บรักษาข้าวเปลือกที่ความชื้นประมาณ 14% มาตรฐานเปียก ควรมีการระบายความ ร้อนออกจากกองข้าวเปลือกเป็นระยะ ๆ โดยการเป่าอากาศแวดล้อมเป็นเวลาอย่าง น้อย 1 ชั่วโมง ผลจากการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการทำนายอัตราการอบ แห้ง พบว่าในการลดความชื้นข้าวเปลือก 18% มาตรฐานเปียกเหลือ 14% มาตรฐาน เปียก โดยใช้อัตราการไหลอากาศ 1.3 cb.m/min-cb.m ข้าวเปลือก ให้ความ สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า 35 บาทต่อตันข้าวเปลือก และในการวิเคราะห์ทาง เศรษฐศาสตร์โดยใช้ข้อมูลจากการจำลองแบบปัญหาทางคณิตศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าระบบ อบแห้งแบบถังเก็บให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากและระยะคืนทุนสั้น

·  งานวิจัยนี้เพื่อที่จะพัฒนาเครื่องปอกเปลือกผลมะพร้าวอ่อนให้ได้ผลทรง