บทคัดย่องานวิจัย

สภาพการใช้เครื่องนวดถั่วเหลืองในจังหวัดเชียงใหม่

จารุวัฒน์ มงคลธนทรรศ ทองหยด จีราพันธ์ สุพล อินทวงศ์ และจิตรา มงคลธนทรรศ

รายงานการวิจัย กองเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. (ไม่ระบุปี)

บทคัดย่อ

สภาพการใช้เครื่องนวดถั่วเหลืองในจังหวัดเชียงใหม่

·  ได้ทำการศึกษาสำรวจโดยการสอบถามข้อมูลจากเจ้าของเครื่องนวดถั่วเหลือง
และเกษตรผู้ใช้เครื่องในจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มละ 50 ตัวอย่าง พบว่า ปัจจุบัน
เครื่องนวดถั่วเหลืองที่ใช้กันอยู่มีมากมายหลายขนาด แต่แบบที่นิยมใช้กันมากที่
สุดคือ ขนาดลูกนวดยาว 6 ฟุต โดยเครื่องนวดส่วนใหญ่คือมากกว่า 95 เปอร์เซนต์
จะเป็นเครื่องนวดรับจ้าง ซึ่งคิดอัตราค่าจ้างถังละประมาณ 58 บาท ทั้งนี้ขึ้น
อยู่กับระยะทางการเคลื่อนย้ายเครื่อง จำนวนคนปฏิบัติงานของเจ้าของเครื่อง และ
ขนาดของเครื่องนวด เครื่องนวดถั่วเหลืองที่ใช้กันอยู่ส่วนใหญ่เป็นเครื่องที่ดัด
แปลงจากเครื่องนวดข้าว เมื่อนำมาใช้นวดถั่วเหลือง กลไกและระบบบางส่วนจึงมีปัญหา
ติดขัดใช้งานไม่ได้ดีเท่าที่ควร แต่เกษตรกรส่วนใหญ่พอใจกับประสิทธิภาพการทำงาน
ของเครื่อง แต่เห็นว่าอัตราค่าจ้างนวดในปัจจุบันแพงเกินไป และบางครั้งไม่สามารถ
หาเครื่องนวดรับจ้างได้ในเวลาที่ต้องการได้ อย่างไรก็ตามเมล็ดถั่วเหลืองที่นวด
ด้วยเครื่องนวดขนาดใหญ่นั้นไม่เหมาะที่จะนำไปใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ เนื่องจากเมล็ด
มีการแตกหักหรือเกิดการบอบช้ำ เนื่องจากการฟาดตีด้วยความเร็วรอบสูง ทำให้
เปอร์เซนต์ความงอกลดต่ำลงในเวลาสั้น สรุปสภาพโดยทั่วไปการใช้เครื่องนวด
ถั่วเหลืองในจังหวัดเชียงใหม่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น
เคยมีปัญหาที่ต้องปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการทำงานของเครื่องบ้าง