บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาความเหมาะสมของเครื่องอบแห้งข้าวโพดแบบเคลื่อนที่ ระยะที่ 1

วีระ พิริยพันธุ์ เกรียงไกร เมฆวิณิชย์ กษม สกุลทับ ประเสริฐ และ วิเศษสุวรรณ

รายงานการวิจัย กลุ่มงานจักรกลการเกษตร กองพัฒนาการบริการการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร, กรุงเทพฯ.

2531

บทคัดย่อ

การศึกษาความเหมาะสมของเครื่องอบแห้งข้าวโพดแบบเคลื่อนที่ ระยะที่ 1

·  การลดความชื้นเมล็ดข้าวโพด และการเกิดสารพิษแอฟลาทอกซินในข้าวโพด
นับเป็นปัญหาเร่งด่วนในการปรับปรุงคุณภาพข้าวโพดเพื่อการส่งออก และอุตสาหกรรม
อาหารสัตว์ภายในประเทศ การนำข้าวโพดตากแดดกระทำได้ยากในฤดูฝน
การใช้เครื่องอบเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาดังกล่าว จากข้อดีหลายประการ
ของการลดความชื้นอย่างรวดเร็วในท้องถิ่น กลุ่มงานวิชาการจักรกลการเกษตร
จึงได้จัดดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสมของการใช้เครื่องอบข้าวโพดแบบ
เคลื่อนที่ โดยมุ่งศึกษาประสิทธิภาพ และความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของเครื่อง
อบ จากการศึกษาพบว่า อัตราการลดความชื้นในช่วงเป่าลมร้อน เฉลี่ย 2.65% ชม.
อัตราการลดความชื้นเมล็ดข้าวโพดในช่วงเป่าลมเย็น เฉลี่ย 1.27% ชม.
ประสิทธิภาพการลดความชื้น เฉลี่ย 0.00000103 ตันของน้ำที่ระเหย/กิโลแคลอรี่
ข้อมูลดังกล่าวใช้ในการวางแผนการจัดการข้าวโพดเข้าอบ และปรับปรุง
ประสิทธิภาพของเครื่องอบ นอกจากนั้นสมการความสัมพันธ์
DRd = 0.19MCi1.47
DRte = 4.030.04RHte
DE = 0.05MCi0.01
ใช้ในการคาดคำนวณระยะเวลา และปริมาณเชื้อเพลิงที่ต้องใช้ในการอบ
แต่ละครั้ง
จากการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ การใช้เครื่องอบแบบเคลื่อนที่มีแนว
โน้มเป็นไปได้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถทำรายได้เพิ่มขึ้นให้กับผู้ใช้
240520 บาท/ต้นข้าวโพด หลังจากหักค่าใช้จ่ายในการอบ 116 บาท/ตัน และ
ค่าขนส่งแล้ว อย่างไรก็ตาม การศึกษาในระยะที่ 2 จะเน้นหนักถึงการศึกษาด้าน
เศรษฐศาสตร์