บทคัดย่องานวิจัย

วิจัยพัฒนาเครื่องกะเทาะถั่วดำ

สาทิส เวณุจันทร์ สมโภชน์ สำราญ และจารุวัฒน์ มงคลธนทรรศ

รายงานการวิจัย กองเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. (2536)

2536

บทคัดย่อ

วิจัยพัฒนาเครื่องกะเทาะถั่วดำ

ได้ดำเนินการทดสอบเบื้องต้น ต้นแบบเครื่องกะเทาะถั่วเขียวผิวมัน โดย ใช้กะเทาะถั่วดำ พบว่าระบบการกะเทาะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับใช้กะเทาะถั่วเขียว แต่เมื่อทดสอบระบบคัดทำความสะอาดของ เครื่อง พบว่าระบบคัดทำความสะอาดควรต้องมีการปรับปรุงแก้ไข จึงทำการทด สอบเปรียบเทียบระบบคัดทำความสะอาดโดยใช้ตะแกรงคัดทำความสะอาด 4 แบบ คือ รูกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 มม. รูรี ขนาด 6x14 มม. และรูรี ขนาด 11x18 มม. และใช้ความเร็วรอบของลูกกะเทาะที่ 500,550 และ 650 รอบต่อนาที จากการทดสอบกับเมล็ดถั่วดำที่มีความชื้น 13.7-20.5% มาตรฐาน เปียก พบว่าความเร็วรอบของลูกกะเทาะที่เหมาะสม คือ ระหว่าง 500-600 รอบต่อนาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชื้นของเมล็ด ตะแกรงคัดทำความสะอาดแบบรีรี ขนาด 8x16 มม. จะได้อัตรการทำงานของเครื่องสูงสุดสำหรับประสิทธิภาพ การทำงานอื่น ๆ ไม่มีความแตกต่างกัน การทดสอบในสภาพการใช้จริง โดยใช้ ตะแกรงขนาด 8x16 มม. ที่มีความเร็วรอบของลูกกะเทาะ 550 รอบต่อนาที ความเร็วรอบของตะแกรงคัดทำความสะอาด 270 รอบต่อนาที ความเร็วรอบ ของพัดลม 1350 รอบต่อนาที ความชื้นเมล็ดถั่วดำต่ำกว่า 15 เปอร์เซนต์ มาตรฐานเปียก พบว่าประสิทธิภาพการกะเทาะมากกว่าร้อยละ 99 ความสะ อาดของเมล็ดมากกว่าร้อยละ 99 การแตกหักต่ำกว่าร้อยละ 1 การสูญเสียรวม น้อยกว่าร้อยละ 0.5 และอัตราการทำงานประมาณ 250-280 กิโลกรัมต่อ ชั่วโมง ความงอกของเมล็ดไม่แตกต่างกับกะเทาะด้วยมือ