บทคัดย่องานวิจัย

การออกแบบและทดสอบเครื่องอบแห้งข้าวเปลือกแบบฟลูดิไดซ์เบดแบบต่อเนื่องขนาดต้นแบบสำหรับอุตสาหกรรม

มุสตาฟา ยะภา

วิทยานิพนธ์ (วศ.ม. เทคโนโลยีพลังงาน) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2537. 146 หน้า.

2537

บทคัดย่อ

การออกแบบและทดสอบเครื่องอบแห้งข้าวเปลือกแบบฟลูดิไดซ์เบดแบบต่อเนื่องขนาดต้นแบบสำหรับอุตสาหกรรม

·  งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อออกแบบและทดสอบเครื่องอบแห้งข้าวเปลือกที่ ช่วงความชื้นสูงโดยเทคนิคฟลูอิไดซ์เบดอย่างต่อเนื่องชนิดอากาศไหลขวาง โดยได้ ทำการออกแบบและสร้างเครื่องอบแห้งข้าวเปลือกที่มีกำลังผลิต 1 ตัน/ชม. ให้มีการ เวียนอากาศร้อนกลับมาใช้ใหม่ และต้องคำนึงถึงคุณภาพของข้าวเปลือกหลังการอบแห้ง โดยเทคนิคฟลูอิไดเซชันให้อยู่ในเกณฑ์ดี เพื่อต้องการให้เป็นต้นแบบสำหรับ อุตสาหกรรมในการสร้างเครื่องอบแห้งข้าวเปลือกโดยเทคนิคฟลูอิไดซ์เบดอย่างต่อ เนื่องชนิดอากาศไหลขวาง ซึ่งมีข้อดีและข้อได้เปรียบพอที่จะแนะนำให้ผู้ที่ เกี่ยวข้องสามารถผลิตเพื่อการค้าได้

·  จากการออกแบบสร้างและดำเนินการทดลองใช้งานจริงพบว่า การอบแห้ง ข้าวเปลือกด้วยเทคนิคฟลูดิไดซ์เบดอย่างต่อเนื่องชนิดอากาศไหลขวางสามารถลดความ ชื้นของข้าวเปลือกเริ่มต้นจาก 45% มาตรฐานแห้งให้เหลือความชื้นสุดท้ายประมาณ 24% มาตรฐานแห้ง โดยกำหนดให้ข้าวเปลือกอยู่ในห้องอบแห้งนานประมาณ 3 นาที ใช้อุณหภูมิในการอบแห้งข้าวเปลือกอยู่ในช่วงประมาณ 100-120 องศา ความสูงของ เบดข้าวเปลือก 11 ซม. อัตราการไหลของอากาศร้อน 0.86 ลบ.ม./นาที (0.87 กก./นาที) ความเร็วของกระแสอากาศร้อนในห้องอบแห้งข้าวเปลือกประมาณ 1.9 ม./นาที อัตราการเวียนอากาศร้อนกลับมาใช้ใหม่ประมาณ 66.4% (0.58 กก./นาที) ใช้กำลังไฟฟ้า 6,559 วัตต์ ใช้เชื้อเพลิงดีเซลเฉลี่ย 5.73 ลิตร/ชม. มีความ สิ้นเปลืองพลังงานปฐมภูมิ 270 MJ/h แยกเป็นพลังงานไฟฟ้าในรูปพลังงานปฐมภูมิ 61 MJ/h และความร้อน 209 MJ/h มีความสามารถในการระเหยน้ำได้ 149 กิโลกรัม น้ำต่อชั่วโมง มีค่าความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง 1.9 MJ/kg-water หากมีการใช้งาน 12 ชั่วโมงต่อวัน จะมีค่าใช้จ่ายในการอบแห้งข้าวเปลือกเป็น 0.63 บาทต่อกิโลกรัม น้ำที่ระเหย แยกเป็นค่าใช้จ่ายในการสร้างเครื่องอบแห้ง 0.19 บาทต่อกิโลกรัมน้ำ ที่ระเหย และเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ 0.44 บาทต่อกิโลกรัมน้ำที่ระเหย