บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาลูกนวดแบบเกลียว

วิเศษฐ เสนาศรี และศรายุทธ สมบัติพิทักษ์สุข

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องจักรกลเกษตร คณะวิศวกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีราช มงคล

2536

บทคัดย่อ

การศึกษาลูกนวดแบบเกลียว

·  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางปรับปรุงเครื่องนวด ข้าวแบบไหลตามแกน สำหรับนวดเมล็ดพันธุ์ปอคิวบา โดยเน้นการศึกษา อุปกรณ์นวด ซึ่งเครื่องนวดข้าวแบบไหลตามแกนที่ใช้ในการศึกษามีความยาว ลูกนวด 1.22 ม. สำหรับแนวทางการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย การประ เมินสมรรถนะการทำงานในสภาพที่ยังไม่มีการปรับปรุง การศึกษาแนวทาง การปรับปรุงเพื่อลดสมรรถนะการทำงาน ทั้งนี้โดยใช้ ประสิทธิภาพการ นวด ปริมาณเมล็ดแตกหัก ความสูญเสียเนื่องจากแยกปริมาณวัสดุที่ไม่ใช่ เมล็ด ซึ่งร่วงผ่านตะแกรงนวดลงมา อัตราการนวด ปริมาณเมล็ดที่งอก เป็นต้นอ่อนปกติ ความสะอาด และความสูญเสียเนื่องจากการทำความสะ อาด เป็นค่าชี้ผลสมรรถนะการทำงาน ผลการศึกษาที่สำคัญสรุปได้ดังต่อ ไปนี้

·  1) การนวดช่อปอคิวบาด้วยเครื่องนวดข้าวแบบไหลตามแกน โดย ไม่มีการปรับปรุง อาจมีความสูญเสียเนื่องจากการแยกสูง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ขนาดของเครื่องนวดที่ใช้งาน

·  2) การปรับปรุงอุปกรณ์นวดเพื่อลดความสูญเสียเนื่องจากการแยก โดยการเพิ่มพื้นที่แยกเมล็ด สามารถลดความสูญเสียเนื่องจากการแยกลง ได้มากกว่าการปรับปรุงโดยการลดอัตราการไหลของวัสดุในห้องนวด โดย ลดความสูญเสียเนื่องจากการแยกลงจากสภาพก่อนการปรับปรุงประมาณ 3.5 ถึง 4.4%

·  3) ระยะห่างระหว่างซี่ตะแกรงนวดที่เหมาะสมควรมีค่าในช่วง 12 ถึง 16 มม. เพราะการใช้ระยะห่างฯ น้อยกว่า 12 มม. มีความสูญ เสียเนื่องจากการแยกค่อนข้างสูง (สูงกว่า 1%) และการใช้ระยะห่างฯ มากกว่า 16 มม. มีปริมาณวัสดุที่ไม่ใช้เมล็ดร่วงผ่านตะแกรงนวดลงมา มากทำให้การคัดแยกเมล็ดช้าซึ่งอาจไม่สัมพันธ์กับการนวด

·  4) ระยะห่างระหว่างปลายซี่นวดกับตะแกรงนวดส่วนล่างที่เหมาะ สม ควรมีค่าในช่วง 27.5 ถึง 52.5 มม. ซึ่งจะได้อัตราการนวดโดย เฉลี่ยสูงกว่าเมื่อใช้ระยะห่างฯ ในช่วงที่มากกว่า 52.5 มม. ถึง 77.5 มม. โดยที่ค่าชี้ผลการทำงานค่าอื่นฯ มีค่าแตกต่างกันเล็กน้อยหรือไม่ต่าง กัน

·  5) ความเร็วเชิงเส้นของปลายซี่นวดที่เหมาะสมควรมีค่าในช่วง 13 ถึง 20 ม./วินาที เพราะการใช้ความเร็วฯ ต่ำกว่า 13 ม./วินาที มีประสิทธิภาพการนวดและอัตราการนวดต่ำ แม้ว่ามีปริมาณเมล็ดที่งอกเป็น ต้นอ่อนปกติสูง แต่สูงกว่าประมาณ 1 ถึง 2% และการใช้ความเร็วฯ สูง กว่า 20 ม./วินาที มีปริมาณวัสดุที่ไม่ใช้เมล็ดร่วงผ่านตะแกรงลวดลงมา มาก ทำให้การคัดแยกเมล็ดช้าซึ่งอาจไม่สัมพันธ์กับการนวด

·  6) เมล็ดปอคิวบาที่ได้จากการนวดด้วยเครื่องนวดแบบไหลตาม แกนภายหลังการปรับปรุงมีความงอกไม่แตกต่างไปจากการนวดโดยใช้ไม้ ตีหรือการแกะกระเปาะด้วยมือ นอกจากนี้ยังเก็บรักษาได้นานถึง 4.5 เดือน โดยที่มีความงอกเป็นต้นอ่อนปกติลดจากความงอกเริ่มต้นประมาณ 1%

·  จากผลการศึกษาดังกล่าวข้างต้น สามารถสรุปข้อเสนอแนะเพื่อการ ปรับปรุงเครื่องนวดข้าวแบบไหลตามแกนสำหรับนวดเมล็ดพันธุ์ปอคิวบา ใน กรณีที่ช่อปอที่มีความชื้นลำปอไม่เกิน 14% (มาตรฐานเปียก) ได้ดังนี้

·  1) ตะแกรงนวดควรมีส่วนที่เป็นตะแกรง (ทั้งส่วนบนและส่วนล่าง) ยาวไม่น้อยกว่า 1.15 ม.

·  2) ระยะห่างระหว่างซี่ตะแกรงนวดควรมีระยะห่างในช่วง 12 ถึง 16

·  3) ระยะห่างระหว่างปลายซี่นวดกับตะแกรงนวดส่วนล่างควรมีค่าในช่วง 27.5 ถึง 52.5 ม. ซึ่งการใช้ระยะห่างฯ ค่าใดค่าหนึ่ง ในช่วงดังกล่าวมีผลการทำงานที่แตกต่างกันเล็กน้อย

·  4) ควรเร็วเชิงเส้นของปลายซี่นวดที่แนะนำสำหรับการใช้งานมีค่าในช่วง 13 ถึง 20 ม./วินาที