บทคัดย่องานวิจัย

การปรับปรุงเครื่องทดสอบอัตราการอบแห้ง

จโรจ แก้วทอง และ ธวัจน์ จารุอริยานนท์

โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2533. 137 หน้า

2533

บทคัดย่อ

การปรับปรุงเครื่องทดสอบอัตราการอบแห้ง

·  โครงการนี้เป็นโครงการศึกษาเครื่องทดสอบอัตราการอบแห้งชั้นบาง เพื่อทำการแก้ไขและปรับปรุงเครื่องให้มีสมรรถนะในการใช้งานดีขึ้น โดย เริ่มต้นทดลองเพื่อหาข้อมูลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงเครื่อง นั้นคือ Moisture Content อุณหภูมิ และความเร็วลม พืชผลที่ใช้ในการทดลอง คือ ต้นหอม (Green Onion) ใส่ในถาดอบแห้งซึ่งแบ่งออกเป็น 9 ช่อง การทดลองจะตั้ง thermostat ไว้ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ความ เร็วมอเตอร์ 1500 rpm. เมื่อเวลาการอบแห้งผ่านไปตามที่กำหนดไว้คือ 15,30,60,90 และ 150 นาที จะทำการวัดอุณหภูมิของลมร้อนก่อนและ หลังผ่านถาดอบแห้ง ค่าความเร็วลมก่อนผ่านถาดอบแห้ง และชั่งน้ำหนัก ของต้นหอมในแต่ละช่อง

·  จากการทดลองก่อนการปรับปรุงเครื่อง พบว่า การกระจายลมไม่ สม่ำเสมอทั่วทั้งหน้าตัดของถาดอบแห้ง ซึ่งจะเห็นได้จากค่าแตกต่างระหว่าง ความเร็วลมสูงสุดและต่ำสุดมีค่า 24.68% และอุณหภูมิของลมร้อนที่ผ่านถาด อบแห้งไม่เท่ากัน โดยแตกต่างกัน 4.88% จึงมีผลทำให้อัตราการแห้งของ ต้นหอมไม่เท่ากัน ซึ่งจะเห็นได้จากช่วงค่าแตกต่างของ Moisture Content สูงสุดและต่ำสุดมีค่ามาก เช่นเมื่อเวลาการอบแห้งผ่านไป 90 นาที ค่าแตก ต่างของ Moisture Content สูงสุดและต่ำสุดมีค่า 20.07%

·  จากการทดลองหลังการปรับปรุงเครื่อง โดยเปลี่ยนข้องอที่ติด vane เข้าไปแทนข้องอเดิม และหุ้มฉนวนรอบท่อลม พบว่าการปรับปรุงเครื่องมีส่วน ช่วยให้การกระจายลมสม่ำเสมอมากขึ้น ค่าแตกต่างระหว่างความเร็วลมสูง สุด และต่ำสุดของลมร้อนที่ผ่านถาดอบแห้งแตกต่างกันเพียง 2.74% จึงมีผล ทำให้อัตราการแห้งของต้นหอมมีค่าใกล้เคียงกันมากขึ้น ซึ่งเห็นได้จากช่วง ค่าแตกต่างของ Moisture Content สูงสุด และต่ำสุดมีค่าน้อยลง เช่น เมื่อเวลาการอบแห้งผ่านไป 90 นาที ค่าแตกต่างของ Moisture Content สูงสุด และต่ำสุดมีค่า 6.20%