บทคัดย่องานวิจัย

การออกแบบและสร้างเครื่องกะเทาะข้าวโพดสำหรับการเลี้ยงสัตว์

นินนาท ราชประดิษฐ์ และภควัต พัวสมบัติศักดิ์

โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรม เครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2533. 77 หน้า

2533

บทคัดย่อ

การออกแบบและสร้างเครื่องกะเทาะข้าวโพดสำหรับการเลี้ยงสัตว์

โครงการนี้เป็นการออกแบบ และสร้างเครื่องกระเทาะข้าวโพด สำหรับ การเลี้ยงสัตว์และทำการทดสอบเครื่องกะเทาะข้าวโพดที่สร้างขึ้น เพื่อที่จะหา สมรรถนะการทำงานของเครื่องและทำการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้เครื่องกระเทาะ ข้าวโพดมีประสิทธิภาพที่ดีเหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งหลักการในการสร้าง เครื่องกะเทาะข้าวโพดนั้น จะอาศัยเพลากะเทาะ ซึ่งรับกำลังมาจากมอเตอร์ เป็นตัวเหวี่ยงกะเทาะข้าวโพดให้หลุดออกจากฝัก และตกลงบนตะแกรงลงสู่ ภาชนะที่รองรับ ในการทดสอบเครื่องกะเทาะข้าวโพดที่สร้างขึ้นนี้ จะทำการ วัดอัตราการกะเทาะ และอัตราการกะเทาะจำเพาะ โดยเปรียบเทียบจาก กำลังมอเตอร์ที่ใช้ นอกจากนี้ยังทำการวัดปริมาณการสูญเสีย ปริมาณการแตก หักของเมล็ดที่กะเทาะได้ ปริมาณของสิ่งเจือปนในเมล็ดที่กะเทาะได้ และ ปริมาณของเมล็ดที่กะเทาะออกจากฝักข้าวโพดไม่หมด ซึ่งผลการทดสอบนั้นทำ การเทียบ ณ ความเร็วรอบขนาดต่าง ๆ ของพูลเล่ย์ที่ติดกับเพลากะเทาะ และความชื้นของเมล็ดข้าวโพดที่ความชื้นค่าต่าง ๆ พบว่า เครื่องกะเทาะข้าว โพดนี้จะมีอัตราการกะเทาะต่าง ๆ กันไปทั้งนี้ขึ้นกับความเร็วรอบที่ใช้กะเทาะ โดยการใช้พูลเล่ย์ขนาดเล็ก ซึ่งมีความเร็วรอบประมาณ 724 รอบต่อนาที จะมีอัตราการกะเทาะดีที่สุด โดยจะได้ค่าประมาณ 1681.87 กก./ชม.และ อัตราการกะเทาะจำเพาะ 1121.25 กก./ชม./กิโลวัตต์ แต่จะพบว่ามีเมล็ด แตกหักสิ่งเจือปนมากับเมล็ดที่กะเทาะและการสูญเสียข้าวโพด เนื่องจากการ กระเด็นสูญหายสูง ซึ่งได้ค่าเปอร์เซนต์เมล็ดแตกหัก 3.20% เปอร์เซนต์สิ่ง เจือปน 8.29% และเปอร์เซนต์การสูญเสีย 2.42% โดยน้ำหนักหากเทียบกับ การใช้พูเล่ย์ขนาดใหญ่ ซึ่งมีความเร็วรอบประมาณ 422 รอบ/นาที จะได้ อัตราการกะเทาะประมาณ 1055.20 กก./ชม. และอัตราการกะเทาะ จำนวน 703.47 กก./ชม./กิโลวัตต์ อีกทั้งเมล็ดแตกหักสิ่งเจือปน และการ สูญเสียของข้าวโพดน้อยกว่า คือ เปอร์เซนต์เมล็ดแตกหัก 1.45% เปอร์เซนต์ และสิ่งเจือปน 6.50% และ เปอร์เซนต์การสูญเสีย 2.09 % ส่วนความชื้น ของข้าวโพดจะมีผลมากกับเมล็ดข้าวโพดที่กะเทาะออกจากฝักข้าวโพดไม่หมด และเมล็ดข้าวโพดที่แตกหัก โดยที่ข้าวโพดความชื้น 16.55% มีเมล็ดข้าว โพดที่ติดค้างอยู่กับซังข้าวโพดและเมล็ดที่แตกหักประมาณ 0.40% และ 3.2% หากเปรียบเทียบกับข้าวโพดความชื้น 20.23 จะพบว่ามีเมล็ดข้าวโพดที่ติด ค้างอยู่กับซังข้าวโพด และเมล็ดที่แตกหักมากกว่า คือ ประมาณ 1.77% และ 5.91 โดยน้ำหนัก