บทคัดย่องานวิจัย

เครื่องนึ่งข้าวเหนียวพลังงานแสงอาทิตย์

ดำรงค์ ทักษนนท์ และสมชาติ ทำมารุ่งเรือง

รายงานของนักศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2535. 125 หน้า.

2535

บทคัดย่อ

เครื่องนึ่งข้าวเหนียวพลังงานแสงอาทิตย์

·  วัตถุประสงค์ของโครงการนี้คือ ออกแบบ สร้าง และทดสอบ เครื่องนึ่งข้าวเหนียว พลังงานแสงอาทิตย์ โดยเครื่องนึ่งที่สร้างขึ้นใหม่ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก คือ

·  1. กระจกใส 2 ชั้น ปิดด้านบนของแผงรับแสง ภายในบรรจุแผ่นดูดกลืนรังสี ซึ่ง สร้างจากอลูมิเนียมแผ่นพ่นสีดำด้าน มีพื้นที่ 0.95 ตารางเมตร

·  2. ท่อน้ำที่ทำจากท่อทองแดง วางอยู่บนร่องบนแผ่นดูดกลืนรังสี และ

·  3. หม้อนึ่งเบอร์ 26 ซึ่งสามารถนึ่งข้าวเหนียวได้ ครั้งละ 1 กิโลกรัม และบุด้วย ฉนวนใยแก้วโดยรอบ

·  ในระหว่างการทดลอง ด้านหน้าของแผงรับแสงจะหันไปทางทิศใต้ตลอดเวลา และทำมุม 16.43 องศากับแนวระดับ

·  ผลการทดลองช่วงระหว่างเดือนมกราคม ถึง กุมภาพันธ์ 2535 ชี้ให้เห็นว่า เครื่องนึ่งที่สร้างขึ้นใหม่ใช้เวลาในการนึ่งข้าวเหนียวจนสุกใช้เวลา 120-135 นาที ประสิทธิภาพเชิงความร้อนของแผงรับแสง และประสิทธิภาพของการนึ่งมีค่า 45.44% และ 7.77% เมื่อทำการอุ่นเครื่องนึ่งก่อนเป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ก่อนนึ่งข้าวเหนียว สามารถใช้เวลาในการนึ่งลดลงเหลือ 60 นาที หรือประมาณ 50% ของเวลาในการนึ่งข้าวเหนียวเมื่อไม่มีการอุ่นเครื่องนึ่งก่อน

·  เมื่อทดสอบเปรียบเทียบระหว่างเครื่องนึ่งที่สร้างขึ้นใหม่ กับเครื่องนึ่ง ที่มีใช้อยู่เดิม 2 เครื่อง คือ เครื่องนึ่งที่ใช้ผิวซีเล็คทีฟกระจก 2 ชั้น และ เครื่องนึ่งที่ใช้กระจก 1 ชั้น พบว่า

·  1. ประสิทธิภาพเชิงความร้อนเฉลี่ยของการนึ่งของเครื่องนึ่งที่สร้างขึ้นใหม่มี ค่าน้อยกว่า เครื่องนึ่งที่ใช้ผิวซีเล็คทีฟ ประมาณ 24.7% และมากกว่าเครื่องนึ่ง ที่ใช้กระจก 1 ชั้น ประมาณ 19.2%

·  2. เวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการนึ่งข้าวเหนียวของเครื่องนึ่งที่สร้างขึ้นใหม่ มีค่า น้อยกว่าเครื่องนึ่งที่ใช้ผิวซีเล็คทีฟ ประมาณ 12% และมากกว่าเครื่องนึ่งที่ใช้ กระจก 1 ชั้น ประมาณ 23%

·  หลังจากเปรียบเทียบค่าประสิทธิภาพเชิงความร้อนของแผงรับแสง ราคา ต้นทุน และวิธีการสร้างของเครื่องนึ่งทั้งสาม พบว่า เครื่องนึ่งที่สร้างขึ้น ใหม่ มีความเหมาะสมที่สุดในการนำมาประยุกต์ใช้งานในชนบท