บทคัดย่องานวิจัย

การหาปริมาณความชื้นสมดุลย์ของเมล็ดพืชโดยวิธีเชิงจลน์

ชุติพงศ์ กอร์ปอริยจิต

โครงงานวิศวกรรมเกษตร (วศ.บ. (วิศวกรรมเกษตร)) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2533. 35 หน้า.

2533

บทคัดย่อ

การหาปริมาณความชื้นสมดุลของเมล็ดพืชโดยวิธีเชิงจลน์

·  การหาปริมาณความชื้นสมดุลของเมล็ดพืชโดยวิธีเชิงจลน์ ใช้เมล็ดถั่วเขียว (พันธุ์กำแพงแสน 1) และเมล็ดถัวเหลือง (พันธุ์นครสวรรค์ 1) และสารละลายอิ่มตัว MgCl2 ,NaCl ,K2So4 ,NaNo2 ควบคุมความชื้นของบรรยากาศภายในกล่องพลาสติก ซึ่งมีพัดลมหมุนเวียนอากาศ ณ อุณหภูมิห้อง 30 องศา

·  ระยะเวลาการเข้าสู่จุดสมดุลโดยวิธีเชิงจลน์ใช้เวลาประมาณ 3-4 วัน ที่ความ ชื้นสัมพัทธ์ 96.6 % เมล็ดพืชจะเข้าสู่จุดสมดุลได้ช้าเนื่องจากความแตกต่างระหว่าง ความชื้นภายในและภายนอกเมล็ดสูงมาก

·  ที่ความชื้นสัมพัทธ์ 96.6% , 75.6% เมล็ดถั่วเขียวและถั่วเหลืองมีการดูด ความชื้น ส่วนความชื้นสัมพัทธ์ 63.6% เมล็ดถั่วเหลืองมีการดูดความชื้นในขณะที่ เมล็ดถั่วเขียวคายความชื้น เพราะความชื้นเริ่มต้นของถั่วเขียวมีค่า 12 %(wb) ส่วนถั่วเหลืองมีค่า 9%(wb) แสดงว่าความชื้นสมดุลของถั่วเขียวมีค่าสูงกว่าบรรยากาศ จึงต้องคายน้ำบางส่วนออกเพื่อเข้าสู่จุดสมดุล ส่วนของถั่วเหลืองมีค่าความชื้นเริ่มต้น ต่ำทำให้ต้องดูดความชื้นจากบรรยากาศรอบบ ๆ และที่ความชื้นสัมพัทธ์ 32.8% ทั้งถั่วเขียวและถั่วเหลืองมีการคายน้ำ

·  ที่ความชื้นสัมพัทธ์ 32.8 ,63.3% เมล็ดพืชเข้าสู่สมดุลในชั่วโมงที่ 48-56 ที่ความชื้นสัมพัทธ์ 75.6% เมล็ดพืชเข้าสู่สมดุลในชั่วโมงที่ 56-64 และที่ความ ชื้นสัมพัทธ์ 96.6% เมล็ดพืชเข้าสู่สมดุลในชั่วโมงที่ 96-120

·  เมื่อนำช่วงการดูดความชื้น (Absorption) ที่ความชื้นสัมพัทธ์ 75.6, 96.6% มาหาค่า c และ n จากสมการของ Henderson ได้ผลดังนี้

·  ถั่วเขียว ได้ค่า c = 1.6x10ยกกำลัง-4 , n = 1.26

·  ถั่วเหลือง ได้ค่า c = 1.37x10ยกกำลัง-4 , n = 1.22