บทคัดย่องานวิจัย

การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวในสภาพปิดโดยใช้ผ้าพลาสติกทาร์พอลิน (ระยะที่ 2)

ไพฑูรย์ อุไรรงค์ กิติยา กิจควรดี นิพนธ์ มาฆทาน กุสุมา นวลวัฒน์ ศิริวรรณ ตั้งวิสุทธิจิต ยุวดา เกิดโกมุติ และ กัมปนาท มุขดี

รายงานวิจัยประจำปี 2540 ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร

2540

บทคัดย่อ

การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวในสภาพปิดโดยใช้ผ้าพลาสติกทาร์พอลิน

การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวในสภาพปิดโดยใช้ผ้าพลาสติกทาร์พอลินวัตถุประสงค์การทดลอง

เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้ในโรงเก็บสภาพธรรมดาให้ยืนยาวมากกว่า 1 ปี และ

ลดความเสียหายของเมล็ดพันธุ์จากการทำลายของแมลงศัตรูโรงเก็บ  เพราะโดยปกติเมล็ดพันธุ์

ข้าวที่เก็บเกี่ยว นวด ตาก แล้วนำไปเก็บรักษาไว้ในโรงเก็บสภาพธรรมดาจะเก็บรักษาเป็นเมล็ดพันธุ์

ได้เป็นระยะเวลาเพียง 8 เดือน หรือไม่เกิน 1 ปี  หลังจากนั้นความงอกของเมล็ดจะลดต่ำ กว่า 80 %

ไม่สามารถใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ได้ ทำให้เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน เช่น ฝนแล้ง น้ำท่วม 

โรคแมลงศัตรูระบาด  ทางราชการไม่สามารถจัดหาเมล็ดพันธุ์ข้าวใหม่ให้เกษตรกรนำไปปลูก

ทดแทนที่เสียหายได้  เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงทดลองหาวิธีการยืดอายุความมีชีวิตของเมล็ดพันธุ์

ให้ยืนยาวมากกว่าปกติ เมื่อเก็บรักษาในสภาพโรงเก็บธรรมดา โดยทดลองเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าว

สุพรรณบุรี60 ซึ่งปลูกและเก็บเกี่ยวที่ระยะสุกแก่เหมาะสม นำไปนวดทันทีและลดความชื้นจนเหลือ 

ความชื้น 9-10 % จำนวน 5 ตัน บรรจุในกระสอบป่านและจัดวางเรียงเป็นกองสี่เหลี่ยมผืนผ้าบน แคร่ไม้

โดยมีผ้าพลาสติกทาร์พอลีนหนา 0.2 มม. ปูรองพื้นก่อนวางแคร่ไม้ ปิดทับกองด้วยผ้าพลาส ติกทาร์พอลีน

รมเมล็ดพันธุ์ด้วยก๊าซฟอสฟีน อัตรา 2 กรัม a.i/ม3 แล้วปิดผ้าทาร์พอลีนคลุมกอง เมล็ดพันธุ์ไว้ตลอด

การเก็บรักษา ระหว่างการเก็บรักษาใช้สารเคมีฆ่าแมลง Permiphos-methyl  50 % E.C. อัตรา 1 กรัม

a.i/ม3 ฉีดพ่นโดยรอบภายนอกผ้าทาร์พอลีนให้ทั่วและฉีดพ่นซ้ำทุกๆ 4  เดือน เพื่อป้องกันแมลงศัตรู

โรงเก็บภายนอกกัดทำลายผ้า ซึ่งจะทำให้เกิดรอยรั่วและความชื้นใน อากาศจากภายนอกและแมลงศัตรู

โรงเก็บสามารถผ่านเข้าไปสู่กองเมล็ดข้าวได้ เปรียบเทียบกับ เมล็ดพันธุ์ข้าวจำนวน 5 ตัน เก็บรักษา

ในสภาพเดียวกันแต่ไม่ปิดคลุมกองข้าวด้วยผ้าพลาสติกทาร์- พอลีน เริ่มต้นทดลองเดือนมิถุนายน 2539

ที่โรงเก็บเมล็ดพันธุ์และห้องปฏิบัติการวิทยาการหลัง การเก็บเกี่ยว ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ผลการทดลอง

พบว่าการเก็บเมล็ดพันธุ์โดยวิธีนี้จะสามารถยืด อายุความมีชีวิตของเมล็ดพันธุ์ข้าวให้ยืนยาวมากกว่า

8 เดือนหรือ 1 ปี จนถึงขณะนี้ (ธ.ค.2540) เป็นเวลานาน 19 เดือน (1 ปี 7 เดือน) ความงอกของเมล็ดพันธุ์

เดือนที่ 19 เท่ากับ 90 %  สูงกว่ามาตรฐานเมล็ดพันธุ์