บทคัดย่องานวิจัย

ขั้นตอนปฏิบัติก่อนและหลังการเก็บรักษาและขนส่งทางไกลดอกกุหลาบ

วลัยภรณ์ ภัสสรศิริ อัญชัญ มั่นแก้ว และ วิภาดา ทองทักษิณ

รายงานผลงานวิจัย ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, เชียงราย.

2540

บทคัดย่อ

ขั้นตอนปฏิบัติก่อนและหลังการเก็บรักษาและขนส่งทางไกลดอกกุหลาบ

ตัดดอกกุหลาบพันธุ์ Osiana, Red Velvet และ Noblesse ในระยะตูมแน่นช่วงระหว่าง

เดือนตุลาคม-กันยายน  ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย เพื่อศึกษาขั้นตอนปฏิบัติที่สำคัญเพื่อขนส่งทางไกล

3 ขั้นตอน  คือ  ขั้นตอนที่ 1  Pulsing การแช่ก้านดอกในสารละลายกรดซิตริก 500 ppm (มก./ล.)

นาน 3 ชั่วโมง หรือแช่ในน้ำกรอง (control) ก่อนทำการบรรจุหีบต่อและขนส่ง ขั้นตอนที่ 2

Conditioning ทำหลังขนส่งทางไกล โดยการแช่ก้านดอกในน้ำอุ่น (38-40 'C) นาน 1 ชั่วโมง

หรือแช่น้ำกรอง (control) ขั้นตอนที่ 3  Holding นำดอกปักแจกันในน้ำยา 8-HQS  250 ppm

+ น้ำตาลทราย 5% หรือปักในน้ำกรอง (control) รวม 6 กรรมวิธี  ผลการทดลองพบว่า ขั้นตอนที่ 3

การปักแจกันในน้ำยาเป็นขั้นตอนสำคัญที่ควรปฏิบัติเพราะมีผลทำให้อายุการปักแจกันของกุหลาบเพิ่มขึ้น

อย่างเด่นชัดกว่าการไม่ใช้น้ำยา สำหรับขั้นตอนที่ 1 การทำ  pulsing  และขั้นตอนที่  2  การทำ

Conditioning ให้ ผลไม่แตกต่างจากแช่น้ำกรอง  สำหรับขั้นตอนปฏิบัติในการเก็บรักษาและขนส่ง

ทางไกลมีกรรมวิธีต่าง ๆ ดังนี้ ชั้นตอนที่ 1 pulsing โดยหลังตัดดอกแช่ก้านดอกในสารละลายกรดซิตริก

500 ppm นาน 3 ชั่วโมง หรือแช่น้ำกรอง (control) ก่อนนำดอกเก็บรักษาในห้องเย็นอุณหภูมิ 5'C

แบบแห้ง นาน 2 สัปดาห์ ขั้นตอนที่ 2 conditioning 1 หลังนำดอกออกจากห้องเย็นแช่ดอกในน้ำอุ่น

1 ชั่วโมง ตามด้วยน้ำยา 8-HQS 400 ppm + น้ำตาลทราย 10 % นาน 5 ชั่วโมง หรือ แช่น้ำในน้ำ

กรองอย่างเดียวนาน 6 ชั่วโมง (control)  ก่อนทำการขนส่ง  ขั้นตอนที่ 3  conditioning    2

เมื่อดอกขนส่งถึงปลายทางแช่ก้านดอกในน้ำอุ่น 1 ชั่วโมง หรือแช่น้ำกรอง ขั้นตอนที่ 4 Holding

นำดอกปักแจกันในน้ำยา 8-HQS 250 ppm + น้ำตาลทราย 5%  หรือ ปักแจกันในน้ำกรอง

(control) ผลการทดลองพบว่าขั้นตอนที่ 4 คือการนำดอกปักแจกันในน้ำยามีผลอย่างเด่นชัด

ในการยืดอายุปักแจกันของกุหลาบทุกพันธุ์ สีสดตรงตามพันธุ์ ดอกบานเต็มที่และกลีบดอกแข็ง

ส่วนขั้นตอนที่  1 ,2  และ 3  จะเลือกปฏิบัติวิธีใดก็ได้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ พันธู์ที่บานยาก  ได้แก่

Red Velvet (สีแดง) เมื่อปฏิบัติทุกขั้นตอนจะมีผลทำให้อายุปักแจกันนานที่สุด ส่วนพันธุ์ที่

ไม่มีปัญหาเรื่องการบานเมื่อตัดตูมได้แก่ Noblesse และ Osiana  การปฏิบัติในขั้นตอนที่

1,2 และ 3 ให้ผลไม่แตกต่างจาก control