บทคัดย่องานวิจัย

การผลิตกระดาษหัตถกรรมจากปอ

แฉล้ม มาศวรรณา เพิ่มศักดิ์ สุภาพรเหมินทร์ ทองปูน เพ่งหากิจ ธนิต โสภโณดร และ ไชยยศ เพชระบูณิน

รายงานผลงานวิจัยปี 2539 (เล่ม 2) ปอ ถั่วมะแฮะ และพืชไร่อื่นๆ ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ขอนแก่น. 267 หน้า.

2541

บทคัดย่อ

การผลิตกระดาษหัตถกรรมจากปอ

ทำการศึกษาความแตกต่างของชนิดพืชในการทำกระดาษแบบหัตถกรรมในปี 2539

ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่นและศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ โดยศึกษาเปลือกพืช 5 ชนิด คือปอแก้ว

ปอคิวบา ป่านรามีปอสา และปอกระเจา วางแผนการทดลองแบบ Completely

Randomised Design จำนวน 3 ซ้ำ ทำการเตรียมเยื่อกระดาษจากเปลือกพืชดังกล่าว

โดยการต้มด้วยโซดาไฟเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ และฟอกด้วยแคลเซียมไฮโปคลอไรท์เข้มข้น

10 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นนำไปทำแผ่นกระดาษโดยวิธีการทำกระดาษสา ผลการทดลองพบว่า

เปลือกของพืชทั้ง 5 ชนิด สามารถทำกระดาษแบบหัตถกรรมได้ดีมีความแตกต่างของ

คุณภาพกระดาษและปริมาณเพื่อกระดาษที่ผ่านจากการเตรียมเยื่อแตกต่างกันตามชนิดพืช

โดยปอแก้ว  ปอคิวบาป่านรามี ปอสา และปอกระเจาให้เปอร์เซ็นต์เยื่อแห้งจำนวน 43,  34, 

36 และ 47 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ จะเห็นว่าปอกระเจาเป็นพืชที่ให้เยื่อกระดาษแห้งสูงสุด

รองลงไปคือ ปอแก้ว ปอสา ตามลำดับ  โครงสร้างของกระดาษ ซึ่งไม่ฟอกสีและผ่านการ

เตรียมเยื่อโดยใช้เครื่องตี มีความแตกต่างกัน โดยปอแก้ว ปอคิวบา ป่านรามีและปอกระเจา

เป็นแผ่นกระดาษได้แต่จับตัวกันหลวม ๆ เห็นเป็นเส้น ๆ  ของเยื่อกระดาษได้ชัดเจนให้

ลวดลายของกระดาษสวยงาม เหมาะสำหรับการใช้ประโยชน์ในงานศิลปะ แต่ไม่เหมาะสม

ในการเขียนแต่การตีเยื่อด้วยมือกระดาษที่ได้จะมีการจับตัวกันแน่นดีกว่าเยื่อที่ตีโดยเครื่องตี

ส่วนกระดาษปอสาที่ผ่านกรรมวิธีเช่นเดียวกัน โครงสร้างของกระดาษจะมีการจับตัวกันแน่น

มีผิวกระดาษที่ละเอียดกว่าพืชอีก 4  ชนิด เหมาะในงานศิลปะและการเขียน  ส่วนกระดาษที่

ผ่านการฟอกขาว จะได้กระดาษที่มีโครงสร้างของเยื่อจับตัวกันแน่นทั้ง 5 ชนิด แต่มีความ

เหนียวและความขาวของกระดาษต่างกัน สามารถใช้ในงานพิมพ์เขียนได้กระดาษปอสาจะมี

ความขาวและความเหนียวสูงที่สุด ส่วนปอทั้ง 4 ชนิดให้ความขาวไม่ต่างกัน ความเหนียว

ของกระดาษสากับกระดาษรามี จะมีความเหนียวใกล้เคียงกันและเหนียวกว่าปกติทั้ง 3 ชนิด

ผลจากการวิจัยดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าเปลือกพืชทั้ง 5 ชนิด สามารถทำกระดาษหัตถกรรมได้

และควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้การจับตัวของเยื่อกระดาษของพืชแต่ละชนิด

แตกต่างกัน ชนิดและความเข้มข้นที่เหมาะสมของฟอกขาวด้วย