บทคัดย่องานวิจัย

ผลของอายุการเก็บเกี่ยวต่อคุณภาพการสีของข้าวพันธุ์ดีภาคใต้

สุเทพ ฤทธิ์แสวง ชูชาติ สวนกูล รุจิรา ปรีชา ธำรง แสงอรุณ จิณะรัตน์ สุวรรณวงศ์ มนูญ กาญจนภักดิ์ และ ชูศักดิ์ รอดคุ้ม

รายงานการวิจัย ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร

2539

บทคัดย่อ

ผลของอายุการเก็บเกี่ยวต่อคุณภาพการสีของข้าวพันธุ์ดีภาคใต้

ผลของอายุการเก็บเกี่ยวต่อคุณภาพการสีของข้าวพันธุ์ดีภาคใต้ การผลิตข้าวเพื่อให้มีคุณภาพ

เมล็ดดี การเก็บเกี่ยวเป็นปัจจัยที่ต้องควบคุมทั้งวิธีการและดำเนินการที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ การ

เก็บเกี่ยวที่อายุเหมาะสม ทำให้เมล็ดข้าวมีคุณภาพการสีสูง ในการทำนาในภาคใต้เกษตรกรมีการ

เก็บเกี่ยวข้าวล่าช้อจากอายุที่เหมาะสม หรือระยะพลับพลึง จากรายงานของสำนักงานส่งเสริมการ

เกษตรภาคใต้ (2534) รายงานว่า เกษตรกรเก็บเกี่ยวข้าวหลังระยะพลับพลึงตั้งแต่ 1-15 วัน

ประมาณ 78.5% และเก็บเกี่ยวหลังจากระยะพลับพลึงมากกว่า 15 วันขึ้นไป ประมาณ 15.8%

ชี้ให้เห็นการเก็บเกี่ยวที่ล่าช้าไปจากอายุที่เหมาะสม ดังนั้น การศึกษาอายุการเก็บเกี่ยวของข้าวพันธุ์/

สายพันธุ์ดีจากการปรับปรุงพันธุ์ข้าวในภาคใต้ เพื่อต้องการทราบอายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมที่ให้

คุณภาพการสีดีที่สุด และคำนึงถึงพันธุ์ข้าวที่มีสมรรถนะในการให้คุณภาพการสีดีสม่ำเสมอ

ถึงแม้ต้องชลอการเก็บเกี่ยวนานออกไปจากอายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม วิธีดำเนินงาน ใช้พันธุ์ข้าว

พันธุ์/สายพันธุ์ดี จากงานพืชศาสตร์ ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง จำนวน 14 พันธุ์ เป็นาพันธุ์ข้าวนา

สวนนาน้ำฝน 8 พันธุ์ ได้แก่ เฉี้ยงพัทลุง  ลูกแดง  Look Daeng Sc7-2-3  Look Daeng

Sc2-1-4  KGTLR79033-3-1-2  KGTLR79134-2-1-1  KGTLR7443-35-1-1-1

และ KGTLR7436-43-1-1-3 พันธุ์ข้าวนาชลประทาน 6 พันธุ์ ได้แก่ CNTLR82044-8-2-2-1

CNTBR83043-22-2  SPRLR8010-84-1-2  SPRLR84184-9-5-1-3  SPRLR

84184-9-5-2-3 และ RD 7 วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ ทำการปลูดด้วยวิธีการปัก

ดำเดือนตุลาคม 2538 ระยะปลูก 25x25 ซม. เนื้อที่ปลูก 2x10 ตารางเมตรต่อพันธุ์ในแต่ละซ้ำ

โดยกำหนดวันปลูกให้พันธุ์ข้าวทุกพันธุ์ออกดอกพร้อมกันเก็บเกี่ยวเดือน กุมภาพันธ์ 2539 ตาม

กำหนดอายุเก็บเกี่ยว 4 ระยะ คือ 23,  30,  37 และ 44 วันหลังออกดอก เนื้อที่เก็บเกี่ยว 4 ตาราง

เมตรต่ออายุเก็บเกี่ยวของแต่ละพันธุ์ ดำเนินการทดลอง 3 แห่งคือ ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง สถานีทดลอง

ข้าวนครศรีธรรมราช และสถานีทดลองข้าวปัตตานี ทำการบันทึกข้อมูลหลังจากการเก็บเกี่ยวตัว

อย่างข้าวในแปลง โดยวัดความชื้นเมล็ดหลังเก็บเกี่ยว วิเคราะห์คุณภาพการสีที่ความชื้นของเมล็ด

ประมาณ 14 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ เปอร์เซ็นต์ข้าวสาร และเปอร์เซ็นต์ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าว